fbpx
เตรียมตัวให้พร้อมก่อนติดตั้ง Home Charger สำหรับชาร์จรถ EV ที่บ้าน

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนติดตั้ง Home Charger สำหรับชาร์จรถ EV ที่บ้าน

09 December 2024

การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน หรือการติดตั้ง Home Charger ที่สามารถรองรับการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าทุก ๆ ประเภทนั้น สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้การเลือกยี่ห้อหรือเครื่องชาร์จรถ EV ก็คือการเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟ ทั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงการใช้มิเตอร์ที่เหมาะสม ซึ่งทาง PlugHaus Thailand จะมาสรุปให้คุณดูกัน ว่าก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีอะไรบ้างที่ควรเตรียมให้พร้อม

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม เพื่อติดตั้ง Home Charger

ก่อนที่จะติดตั้ง Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก ๆ คือ ทำความเข้าใจกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ว่าระบบไฟที่ใช้อยู่สามารถรองรับการใช้งานเครื่องชาร์จรถ EV หรือไม่ หากไม่รองรับต้องดำเนินการอย่างไรเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้ระบบไฟฟ้าไม่มีปัญหา และมีความปลอดภัยในการใช้งาน EV Charger

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม เพื่อติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน

1. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กของรถ EV

ขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก ๆ ของการติดตั้ง Home Charger คือ ต้องรู้ก่อนว่าหัวปลั๊กของรถยนต์ที่ใช้เป็นแบบไหน เพื่อให้รู้ว่าต้องเลือกเครื่องชาร์จแบบไหน กำลังไฟเท่าไหร่ ระบบไฟฟ้าในบ้านต้องเป็นยังไง ซึ่งหัวปลั๊กของรถ EV ในปัจจุบันนี้ จะมีหัวชาร์จที่ใช้ทั้งหมด 2 รูปแบบหลัก ๆ ที่ใช้สำหรับการชาร์จไฟที่บ้าน ด้วยระบบ AC Charger (ไฟฟ้ากระแสสลับ) ได้แก่

  • Type 1 ส่วนมากเป็นรถญี่ปุ่นและอเมริกา มีหัวต่อแบบ 5 Pin เป็นการชาร์จไฟ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดอยู่ที่ 32A หรือ 7.2 kWh เช่น Nissan Leaf และ Tesla
  • Type 2 ส่วนมากเป็นรถยุโรป มีหัวต่อแบบ 7 Pin จ่ายไฟอยู่ที่ 3.7 kWh แต่บางแบรนด์สามารถจ่ายได้มากถึง 11 – 22 kWh เช่น BYD, GMW, Mercedes-Benz, BMW, Volvo, Porsche และ Tesla

โดยส่วนมากแล้วหัวชาร์จที่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ในปัจจุบัน จะเป็นแบบ Type 2 เพราะฉะนั้น การเลือกติดตั้ง EV Charger ก็สามารถเลือกรุ่นที่เป็นหัวชาร์จ Type 2 ได้เลย สำหรับรถ EV รุ่นใหม่ ๆ ที่จำหน่ายในเมืองไทย เช่น Tesla Model Y 2023 ที่ใช้หัวชาร์จ AC Type 2 แต่หากเป็นการชาร์จแบบ DC Charger (ไฟฟ้ากระแสตรง) จะใช้หัวชาร์จแบบ CSS2

ความแตกต่างของหัวชาร์จ EV Type 1 และ Type 2

2. พิจารณาความสามารถการรับไฟของ On Board Charger

ก่อนจะติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ก็ต้องดูก่อนว่า On Board Charger หรือเครื่องชาร์จที่มากับตัวรถนั้น สามารถรับไฟได้ขนาดไหนบ้าง เพื่อเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟใกล้เคียงกัน โดยกำลังไฟจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • 6kW เช่น MG ZS, Ora Good Cat และ BYD ATTO 3
  • 11kW เช่น Volvo XC40, Tesla Model 3, BMW iX3 และ Mini Cooper SE 2024
  • 22kW เช่น Porsche Taycan และ Audi e-tron GT

3. ตรวจเช็กของขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้าน

วิธีการสังเกตว่าขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่เป็นแบบไหน ให้ดูข้อความตรงมิเตอร์ที่เขียนว่า “Phase” หรือ “Type” ซึ่งบ้านที่สร้างมานานแล้วมักจะเป็นบ้านที่ใช้ไฟแบบ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A แต่ตามมาตรฐานการติดตั้งเครี่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้าจะแนะนำให้ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาด Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A

เพราะฉะนั้น หากลองตรวจเช็กดูแล้วว่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านไม่รองรับหรือมีกำลังไฟไม่เพียงพอ ก็ต้องทำการแจ้งขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ที่การไฟฟ้าก่อน หรือบางกรณีอาจจะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ไปด้วยเลยก็ได้ สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนมิเตอร์นั้น ประกอบไปด้วย

  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  • บิลค่าไฟฟ้า (3 – 4 เดือนย้อนหลัง)
  • ข้อมูลหรือสเปกรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ (สำหรับประเมินกำลังไฟที่เพียงพอ)
  • ใบมอบอำนาจ หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ (กรณีดำเนินการแทนเจ้าบ้าน)

4. ตรวจเช็กขนาดสายไฟเมน

นอกเหนือจากการเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าว่าพร้อมต่อการติดตั้ง EV Charger หรือไม่แล้ว ก็ต้องเช็กขนาดสายไฟเมนหรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุมด้วย ซึ่งขนาดที่ควรใช้คือขนาด 25 ตร.มม. และสำหรับตู้ Main Circuit Breaker หรือตู้เมนเบรกเกอร์ ก็ควรใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดไม่เกิน 100 A เช่นกัน

5. ตรวจเช็กเครื่องตัดไฟรั่ว

แน่นอนว่าการใช้ไฟฟ้านั้นยังมีข้อควรระวังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือการเกิดเหตุการณ์ณืที่ไม่คาดฝัน อาทิ ฟ้าผ่า ที่อาจส่งผลให้เกิดไฟดูดได้ ดังนั้น อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึง Home Charger ก็คือ การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (RCD) ซึ่งมาตรฐานทั่วไปคือต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA และสามารถตัดไฟได้ภายในเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่ว 5 เท่าของพิกัด

ส่วนการเลือกติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า หากรุ่นที่เลือกติดตั้งมีระบบตัดไฟอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง RCD เพิ่มก็ได้เช่นกัน ส่วนเต้ารับควรใช้แบบ 3 รู และมีหลักดินแยก ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ทางผู้ให้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า จะเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำแนะนำก่อนติดตั้งเสมอ

6. เลือกจุดสำหรับติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน

การเลือกพื้นที่สำหรับติดตั้ง Home Charger ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม จุดที่ติดตั้งเครื่องชาร์จไปจนถึงจุดเสียบหัวชาร์จเข้ากับตัวรถ ควรมีระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร เพราะปกติแล้วสายชาร์จจะมีความยาวสายอยู่ที่ 5 – 7 เมตรเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และการเดินสายไฟก็ไม่ควรไกลจากตู้ควบคุมไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

ที่สำคัญคือ ไม่ว่าเครื่องชาร์จจะมีมาตรฐานกันน้ำและฝุ่นละอองที่ IP เท่าไหร่ก็ตาม ก็ควรติดตั้งเครื่องชาร์จในพื้นที่ร่มและอยู่ใต้หลังคา เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและความปลอดภัยของผู้ใช้รถ แต่หากต้องการติดตั้ง EV Charger ที่คอนโด จะต้องทำการติดต่อที่นิติบุคคลก่อน ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ติดตั้ง Home Charger ที่มีมาตรฐาน เลือก PlugHaus

ติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน เลือก PlugHaus Thailand

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ EV ที่ต้องการติดตั้ง Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน แล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือกติดตั้งกับผู้ให้บริการที่ไหนดี สามารถเลือกติดตั้งกับทาง PlugHaus Thailand ได้แล้ววันนี้ ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ และวิศวกรที่ผ่านการรับรอง ด้วยมาตรฐานการติดตั้งจาก PEA และ MEA ที่พร้อมจะให้ข้อมูลด้านการชาร์จที่ครอบคลุม พร้อมกับตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่ติดตั้งให้อย่างละเอียด เพื่อสร้างประสบการณ์และการใช้งาน เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้รถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็สามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัยและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

กลับสู่หน้าบทความ

Article Related