ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ากังวลมากที่สุดในการใช้รถยนต์ EV นั้น ก็คือเรื่องของ “ประกันรถยนต์ไฟฟ้า” เพราะต้องเลือกประกันที่สามารถคุ้มครองได้ทั้งแบตและตัวรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีประเด็นเรื่องประกันรถยนต์ไฟฟ้ามาให้ติดตามกันอย่างมากมาย เช่น การลดความคุ้มครองแบตเตอรี่ หรือหากต้องซื้อประกันที่คุ้มครองได้ทั้งหมด ก็ต้องดูค่าเบี้ย ความคุ้มครอง และราคาประกันรถยนต์ไฟฟ้าให้ดี ว่าจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายหรือไม่ คุ้มครองกรณีไหนบ้าง เพราะฉะนั้น มาทำความรู้จักกับประกันรถยนต์ EV ให้มากขึ้น พร้อมวิธีเลือกประกันให้ถูกใจคนใช้รถ
ประกันรถยนต์ไฟฟ้า คืออะไร?
ประกันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่สามารถคุ้มครองการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยตัวประกันจะมีความคล้ายและใกล้เคียงกับประกันรถยนต์ทั่ว ๆ ไป ที่จะมีความคุ้มครองในกรณีต่าง ๆ ตามเบี้ยประกันภัย แต่ความแตกต่างของประกันรถยนต์ EV คือ สามารถคุ้มครองแบตเตอรี่รถยนต์และระบบไฟฟ้าร่วมด้วย ทั้งยังรวมถึงการคุ้มครองหัวชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน โดยประกันรถยนต์ไฟฟ้าจะมีการพิจารณาเงื่อนไขต่างจากรถยนต์ทั่วไป แต่โดยภาพรวมแล้วยังคงคุ้มครองทุกภัย (All Risk) อาทิ น้ำท่วม ไฟไหม้ รถหาย ยกเว้นกรณีที่เกิดสงครามและการจลาจล
ประกันรถยนต์ไฟฟ้า หรือรถ BEV ฉบับใหม่ ปี 2567
ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้เลยว่า ประเด็นเรื่องประกันรถยนต์ไฟฟ้านั้น เป็นที่ถกเถียงและมีให้ติดตามกันอยู่เสมอ โดยเกณฑ์การประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า BEV (Battery Electric Vehicle-BEV) ตามที่ คปภ. ประกาศล่าสุด ก็ได้สรุปออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า ให้ใช้เกณฑ์ดังกล่าวเป็นมาตรฐานเดียวกันนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา (เกณฑ์ดังกล่าวใช้เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ 100% เท่านั้น ไม่รวมรถที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์สันดาป)
- หากได้รับความเสียหายและต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด ชดเชยสินไหมตามอายุการใช้งาน โดยลดอัตราการชดใช้ตามความเสื่อมของแบตเตอรี่ปีละ 10% ต่ำสุด 50%
- คุ้มครองเหมือนกับประกันรถยนต์ชั้น 1 ทั่วไป แต่จะไม่คุ้มครองความเสียภายจากปัจจัยภายนอก (Cyber Breach) ที่ทำให้ระบบปฏิบัติการเสียหาย (Software)
- ไม่คุ้มครองเมื่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เกิดจากเครื่องชาร์จที่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตโดยตรง (สามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้)
- สามารถทบทวนอัตราเบี้ยประกันภัยใหม่ใน 2 ปี เพื่อความยืดหยุ่นต่อบริษัทประกันภัย
- บังคับให้ระบุชื่อผู้ขับขี่สูงสุดได้ถึง 5 คน หากเกิดอุบัติเหตุแล้วชื่อผู้ขับขี่ไม่ตรงกับกรมธรรม์ จะต้องเสียค่าเสียหายส่วนแรก หรือ ค่า Excess สูงสุดไม่เกิน 6,000 บาท
- ผู้ขับขี่ที่มีประวัติดีสามารถรับส่วนลดค่าเบี้ยได้สูงสุด 40% (โดยใช้เกณฑ์ประวัติผู้ขับขี่แย่ที่สุดเป็นตัวคำนวณ)
ในการเคลมแบตเตอรี่จากบริษัทประกันภัย ทาง คปภ. ได้กำหนดเอาไว้ด้วยว่า หากได้รับความเสียหายบางส่วน อาจตกลงกันว่าจะมีการซ่อมหรือว่าเปลี่ยนรถที่มีสภาพเดียวกันทดแทนได้ และหากมีการเปลี่ยนแบตตามอัตราที่กำหนดไว้ในเกณฑ์ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า จะถือว่าซากแบตเตอรี่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เอาประกันภัยและบริษัท โดยจะยึดตามสัดส่วนหรืออัตราการชดใช้ค่าสินใหม่ทดแทนในตัวแบตเตอรี่
เลือกซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าแบบไหน ให้คุ้มครองได้ทั้งแบตและรถ?
การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้รถยนต์อีวีทุกชนิด หลักการสำคัญคือการพิจารณาค่าเบี้ยประกัน ว่ามีความคุ้มค่าต่อการคุ้มครองมากน้อยแค่ไหน เพราะค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้า ถือว่ามีราคาสูงมากกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ทั่วไป ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการเติบโตของตลาดรถยนต์ EV และมาตรฐานต่าง ๆ ยังอยู่ในช่วงที่ต้องนำองค์ประกอบหลายส่วนมาพิจารณาประกอบกัน นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากราคาค่าแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่สูงเกือบจะ 70% – 80% ของมูลค่ารถ ซึ่งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประกันรถยนต์ EV มีราคาสูงกว่ารถยนต์สันดาปทั่วไป
1. เลือกจากความคุ้มครองของประกันภัย
จากเกณฑ์ประกันรถยนต์ไฟฟ้า BEV ของทาง คปภ. ที่กำหนดออกมานั้น จะสังเกตได้ว่า ครอบคลุมเฉพาะรถที่ใช้แบตเตอรี่ 100% เท่านั้น จะไม่ครอบคลุมรถยนต์ที่พัฒนาหรือดัดแปลงมาจากรถยนต์สันดาป เพราะฉะนั้น การพิจารณาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า BEV ต้องพิจารณาวงเงินและความคุ้มครองในส่วนของตัวแบตเตอรี่ร่วมด้วย เพราะกรมธรรม์ฉบับใหม่ไม่ได้คุ้มครองทุกภัย (All Risk) ดังนั้น ต้องดูรายละเอียดความคุ้มครองให้ครอบคลุม ว่าไม่ครอบคลุมในกรณีไหนบ้าง ควรจะซื้อความคุ้มครองเพิ่มหรือไม่
2. เลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากกรมธรรม์
หากคุณใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้วต้องการติดตั้ง EV Charger ที่ไม่ได้มาพร้อมกับตัวรถที่ซื้อ แนะนำว่าควรซื้อความคุ้มครองเพิ่มเติมจากทางบริษัทประกันภัย เพื่อให้มั่นใจได้มากขึ้นในการใช้รถ เพราะตามเกณฑ์ความคุ้มครองของประกันแล้ว จะไม่คุ้มครองความเสียหายจากเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลที่ไม่ได้มาจากผู้ผลิตรถ เช่น ติดตั้งไปแล้วระบบของหัวชาร์จส่งผลต่อระบบปฏิบัติการ จนทำให้แบตเตอรี่มีปัญหา กรณีนี้ก็อาจจะเคลมประกันไม่ได้ เป็นต้น
เพราะฉะนั้น เมื่อมีการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน แล้วไม่ต้องการซื้อความคุ้มครองประกันรถยนต์ EV เพิ่มเติม ก็ต้องมั่นใจว่าเครื่องชาร์จที่ติดตั้งนั้นมีมาตรฐาน ผ่านเกณฑ์ของทาง PEA และ MEA รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ เช่น มีมาตรฐานการกันน้ำและฝุ่น รวมถึงการประกันวินาศภัยร่วมด้วย ซึ่งกรณีนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับงบประมาณของเงินในกระเป๋าด้วย ว่าสามารถซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ไหม แล้วบริษัทที่รับติดตั้ง Home Charger มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
3. ซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าชั้น 1 ไว้อุ่นใจกว่า
จริงอยู่ที่ว่าประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีหลายแบบให้เลือก แต่อย่าลืมว่าตัวรถยนต์ไฟฟ้ามีการทำงานที่ต่างจากรถยนต์สันดาป ดังนั้น เพื่อให้ผู้ใช้รถสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมั่นใจ แนะนำว่าให้เลือกประกันรถยนต์ชั้น 1 จะดีที่สุด เพราะมีความครอบคลุมมากกว่า รองรับความเสี่ยงได้หลายปัจจัย รวมถึงการเกิดเหตุทั้งแบบที่มีคู่กรณีและแบบไม่มีคู่กรณี นอกจากนี้ บางบริษัทประกันภัยยังมีบริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง ให้กับผู้ใช้รถที่เลือกซื้อประกันชั้น 1 อีกด้วย
และข้อดีของการใช้ประกันชั้น 1 ที่เห็นได้ชัด สำหรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็คือ การใช้บริการที่ศูนย์ซ่อมบริการ เพราะรถยนต์ไฟฟ้ายังถือว่าใหม่ในตลาดรถเมืองไทย ผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด เข้าใจปัญหาและระบบของตัวรถได้จริง ก็คือศูนย์บริการหรือค่ายรถโดยตรง ซึ่งโดยส่วนมากแล้วประกันชั้น 1 จะสามารถใช้บริการซ่อมห้างได้ ทำให้เวลาเคลมประกันหรือการสั่งอะไหล่มีความง่ายมากกว่าอู่ข้างนอก ทั้งยังประหยัดเวลาในการรอมากกว่าเช่นกัน
ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างไร้กังวล ด้วย Home Charger จาก PlugHaus
จะเห็นได้เลยว่าการเลือกซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เรื่องยากเลยแม้แต่น้อย เพียงแค่ในปัจจุบันมีเกณฑ์การประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า จากทาง คปภ. เข้ามามีบทบาทร่วมด้วย จึงทำให้ผู้ใช้รถต้องพิจารณาการเลือกประกันรถยนต์ EV ให้มากขึ้น ทั้งเรื่องความคุ้มครองตัวรถและแบตเตอรี่ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการติดตั้ง Home Charger ไว้สำหรับใช้งานที่บ้าน ที่อาจจะมีความกังวลว่าประกันจะคุ้มครองหรือไม่หากเกิดปัญหาขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้รถยนต์ EV ที่อยากจะมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านดีดีสักเครื่อง มีมาตรฐาน MEA และ PEA ก็สามารถเลือกติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับทาง PlugHaus Thailand ได้เช่นกัน โดยในปัจจุบันเรามี Home Charger ให้เลือกหลากหลายรุ่น อาทิ Wallbox Pulsar Max, Wallbox Pulsar Plus, Wallbox Pulsar Pro, En+ Caro Series และ Teison Smart mini ซึ่งแต่ละรุ่นก็ออกแบบมาให้เหมาะสมกับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ที่สำคัญคือ มีฟังก์ชันและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้การใช้งานง่ายและสะดวกมากขึ้น และที่ขาดไม่ได้คือ เมื่อติดตั้ง EV Charger หรือ Home Charger ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใดก็ได้กับทาง PlugHaus คุณจะได้รับประกันวินาศภัยให้อีก 30 ล้านบาท