จากการเติบโตของตลาดรถยนต์ EV ในเมืองไทย ก็ต้องยอมรับเลยว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้านั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง การขยายพื้นที่ให้บริการ EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ก็ย่อมเพิ่มจำนวนที่มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานในทุก ๆ พื้นที่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ EV Charger Station กันให้มากขึ้น ว่าคืออะไร มีกี่แบบ แล้วแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
EV Charger คืออะไร?
EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า คือ อุปกรณ์หรือระบบที่ใช้สำหรับชาร์จไฟเข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ทุกชนิด เพื่อให้มีพลังงานพร้อมใช้ภายในระบบ โดยตัวระบบของ EV Charger Station หรือก็คือระบบการชาร์จไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การชาร์จแบบปกติ หรือที่เรียกกันว่า AC Charger และ การชาร์จแบบเร็ว หรือก็คือ DC Charger โดยการชาร์จแต่ละแบบก็จะมีความต่างกัน ทั้งเรื่องของกระแสไฟฟ้าและความเร็วของการชาร์จในแต่ละครั้ง
EV Charger มีกี่แบบ?
อย่างที่เราอธิบายไปในข้างต้นว่า ระบบการชาร์จไฟของ EV Charger นั้น จะมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ AC Charger และ DC Charger เพราะฉะนั้น เราจะพาคุณมาดูความแตกต่างของการชาร์จทั้งสองชนิดนี้กัน ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ EV สามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับรถที่ใช้
1. การชาร์จแบบปกติ หรือ AC Charger
การชาร์จไฟแบบปกติ Normal Charge หรือที่เรียกกันว่าการชาร์จแบบ AC Charger นั้น คือการชาร์จไฟด้วยไฟฟ้ากระแสสลับจากตัว Wallbox ผ่านตัว On Board Charger ที่มีภายในตัวรถ หลังจากนั้นจะทำการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ สำหรับการชาร์จแบบปกติหรือ AC Charger นี้ จะมีหัวชาร์จทั้งแบบ Type 1 และ Type 2 ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นหัวชาร์จแบบ Type 2 มากกว่า โดยหัวชาร์จชนิดนี้สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 22 kW สำหรับไฟฟ้า 3 Phase และเป็นหัวต่อแบบ 7 Pin เรียกว่าเป็นหัวชาร์จที่เป็นมาตรฐานหัวชาร์จในไทยก็ว่าได้
2. การชาร์จแบบเร็ว หรือ DC Charger
การชาร์จไฟแบบเร็ว Quick Charge หรือ DC Charger นี้ เป็นการชาร์จไฟที่นิยมใช้กับตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger Station ตามสถานีให้บริการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า โดยการชาร์จในรูปแบบนี้ ถูกพัฒนามาจากการชาร์จแบบ AC แต่จะใช้วิธีการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่ โดยไม่ผ่าน On Board Charger จึงทำให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ได้ไวกว่า เรียกว่า สามารถชาร์จไฟจาก 10% ไปถึง 80% ได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับความจุแบตของรถ)
โดยการชาร์จในรูปแบบนี้ จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา เช่น ชาร์จไฟเมื่อต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัด แต่จะไม่เหมาะสำหรับการชาร์จเป็นประจำทุกวัน เพราะว่าการชาร์จแบบนี้จะส่งผลต่อตัวแบต ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ไว โดยปัจจุบันหัวชาร์จที่ใช้กับเครื่องชาร์จแบบ DC Charger นั้น มีทั้งแบบ CHAdeMO และ CCS (มี Type 1 และ Type 2) โดยในไทยจะนิยมใช้เป็น CCS Type 2 (CCS Combo 2)
“การชาร์จไฟด้วยเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า DC Charger ถึงแม้ว่าจะสะดวกและรวดเร็วกว่า แต่อัตราค่าบริการก็ถือว่าสูงกว่าการชาร์จแบบ AC Charger พอสมควร ซึ่งการชาร์จแบบเร็วจะนิยมใช้กับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามจุดให้บริการต่าง ๆ ส่วนการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จะติดตั้งแบบ AC Charger”
ใช้รถ EV ควรมีเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านหรือไม่?
สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น BEV หรือแม้แต่ PHEV ที่ต้องชาร์จไฟเพื่อเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่สำหรับใช้งานนั้น การมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เอาไว้ที่บ้าน ก็ถือว่าตอบโจทย์และช่วยทำให้การใช้รถสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถชาร์จไฟได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปชาร์จไฟตามสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทุกครั้ง เพราะการชาร์จไฟที่บ้านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เมื่อชาร์จไฟในเวลา Off-Peak โดยเฉพาะบ้านที่ใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU
ข้อดีของการมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน
- สามารถชาร์จไฟในเวลาไหนก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องไปต่อคิวหรือจองเพื่อใช้บริการสถานีชาร์จ
- เลือกเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการ ทั้งการติดตั้ง EV Charger ของค่ายรถยนต์ หรือการเลือกซื้อเครื่องชาร์จจากผู้จัดจำหน่ายโดยตรง
- ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 Phase หรือ 3 Phase ก็สามารถติดตั้ง EV Charger ได้ โดยที่ไม่ให้กระทบกับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
- สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เมื่อเลือกใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU โดยเฉพาะครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าในเวลา Off-Peak เป็นหลัก
- ติดตามสถานะของการชาร์จไฟ และคำนวณการใช้ค่าไฟได้ในแต่ละเดือนผ่านทางแอปพลิเคชัน
ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เลือกแบบไหนดี?
การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านนั้น เริ่มต้นต้องดูจาก “Phase” ของมิเตอร์ไฟฟ้าว่าเป็นแบบไหน ซึ่งส่วนมากแล้วบ้านทั่วไปจะใช้ Single-Phase 15(45)A ซึ่งถือว่ายังไม่พอในการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า เพราะโดยทั่วไปแล้วเครื่องชาร์จจะใช้กำลังไฟที่สูงถึง 32A ดังนั้น หากติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วใช้ไฟไปพร้อม ๆ กัน ก็อาจจะทำให้กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการได้ ทำให้เกิดปัญหาฟ้าเกินและทำให้ไฟดับได้
ดังนั้น การติดตั้ง EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จะต้องทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับการโหลดรวมของบ้านได้ เช่น เปลี่ยนมิเตอร์เป็นขนาด Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A ซึ่งเป็นขนาดมิเตอร์ที่ทางการไฟฟ้าฯ แนะนำ ดังนั้น หากบ้านของคุณยังเป็นมิเตอร์แบบ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A จะต้องแจ้งเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าก่อนที่จะติดตั้ง EV Charger
เอกสารที่ใช้เพื่อขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้ากับ PEA และ MEA
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า หากไม่ใช่เจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอม
- ใบเสร็จหรือบิลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง (ประมาณ 3 – 4 เดือน)
- ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ประเมินว่ามิเตอร์ที่ต้องการเปลี่ยนเพียงพอหรือไม่
- ใบมอบอำนาจหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ หากดำเนินการแทนเจ้าของบ้าน
- แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งของสถานที่ของใช้ไฟฟ้า
ระยะเวลาการดำเนินงานของการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
- มิเตอร์ขนาด 5(15)A – 15(45)A ใช้เวลาภายใน 4 วันทำการ
- มิเตอร์ขนาด 30(100)A – 50(150)A ใช้เวลาภายใน 8 วันทำการ
- มิเตอร์ขนาด 200A – 400A ใช้เวลาภายใน 18 วันทำการ
หมายเหตุ : ระยะเวลาในการดำเนินการ ไม่รวมเวลาในการเดินทาง และเวลาในการรอคอยนัดหมาย
ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านแบบง่าย ๆ กับ PlugHaus
สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือผู้ใช้รถ EV ที่กำลังมองหา Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ที่มีมาตรฐานจาก MEA และ PEA พร้อมทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยดูแลการติดตั้งในทุกขั้นตอน เพียงเลือกใช้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับทาง PlugHaus Thailand วันนี้ รับสิทธิพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นมากมาย ไม่ว่าจะเลือกติดตั้ง EV Charger ที่บ้านแบรนด์ใดก็ตาม ทางเราก็จะมีประกันคุณภาพพร้อมการบริการหลังการขายแบบครบวงจร ที่สำคัญคือ รับประกันงานหลังติดตั้งนาน 2 ปี และประกันงานวินาศภัยสูงสุด 30 ล้านบาท