แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า อยู่ได้นานกี่ปี? พร้อมค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเปลี่ยนแบต

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า อยู่ได้นานกี่ปี? พร้อมค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเปลี่ยนแบต

16 May 2025

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า” ก็คือหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนรถ EV ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีประเด็นของแบตเตอรี่รถไฟฟ้ามาให้ติดตามกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะประเด็นของอายุการใช้งาน และราคาค่าเปลี่ยนแบต ที่หลายคนมองว่ามีราคาสูงเกินไป จนอาจเกิดความลังเลว่า จะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าดีไหม จะคุ้มค่าหรือเปล่า? เพราะฉะนั้น ทาง Plughaus Thailand จะพาคุณมาทำความรู้จักกับแบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV กันให้มากขึ้น ว่าแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานนานเท่าไหร่ แล้วการถนอมแบตมีวิธีไหนบ้าง

ประเภทของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ประเภทของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

ในปัจจุบันนี้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าจะมีการเรียกชื่อหลายแบบมาก ๆ ซึ่งหากจำแนกออกเป็นประเภทจริง ๆ แล้ว สามารถแบ่งออกได้ถึง 7 ประเภท ได้แก่

1. แบตเตอรี่ชนิดตะกั่วกรด

หรือ Lead – Acid Battery ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ชนิดนี้มีมาตั้งแต่ยุครถยนต์สันดาป แต่ถูกนำมาใช้ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า โดยในท้องตลาดจะมี 3 ชนิดย่อยลงไป คือ แบตเตอรี่น้ำ แบตเตอรี่แห้ง และแบตเตอรี่กึ่งแห้ง ซึ่งแบตชนิดนี้จะนิยมนำมาใช้เป็นแบตสำรองเท่านั้น เพราะมีอายุการใช้งานที่สั้น มีการดูแลหลายส่วน ทำให้ส่งผลต่อการบำรุงรักษาในระยะยาว

2. แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล – เมทัลไฮไดรด์

สำหรับแบตเตอรี่ Nickel-metal Hydride / Ni-MH เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ประเภท HEV และ PHEV หรือก็คือรถที่ใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน โดยมีอายุการใช้งานที่นานกว่าแบตลิเธียม แต่ว่าเก็บพลังงานได้น้อยกว่า ซึ่งรถที่ใช้แบตเตอรี่ชนิดนี้ก็มีหลายรุ่น เช่น Toyota Camry Hybrid

3. แบตเตอรี่นิเกิล – แคดเมียม

สำหรับแบตเตอรี่นิเกิล – แคดเมียม หรือ Nickel-Cadmium Battery / Ni-Cd เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในช่วง ค.ศ. 90 จุดเด่นคือ สามารถเก็บกระแสไฟฟ้าได้เยอะ มีรอบการชาร์จ หรือ Cycle อยู่ที่ 500 – 1,000 ครั้ง แต่ข้อจำกัดคือ ต้องใช้พลังงานให้หมดก่อนถึงจะสามารถชาร์จใหม่ได้ ทั้งยังมีประเด็นเรื่องการรั่วไหลของสารแคดเมียม จึงทำกลายเป็นแบตเตอรี่ต้องห้าม และไม่มีการใช้ในรถยนต์ EV

ประเภทของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

4. แบตเตอรี่ลิเฮียมไอออน

แบตเตอรี่ Lithium Ion หรือ Li – ion เป็นแบตเตอรี่รถ EV ที่พบเจอกันได้บ่อยมาก ๆ และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน สำหรับการใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อาทิ สมาร์ตโฟน ซึ่งข้อดีคือมีอายุการใช้งานที่มากกว่า และรองรับการชาร์จแบบเร็ว หรือ Fast Charge ทั้งยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้  ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีรอบการชาร์จอยู่ที่ 500 – 10,000 ครั้ง แต่ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือ มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า และหากมีอุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงเกินไปก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานตามไปด้วย

5. แบตเตอรี่แบบตัวเก็บประจุไฟฟ้า

โดยแบตชนิดนี้แทบจะไม่ใช่แบตเตอรี่แบบ 100% มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบตอิเล็กโทรไลต์แบบเหลว มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และทนทาน ชาร์จไฟได้เร็วกว่าแบตแบบปกติมาก ทั้งยังมีรอบการชาร์จสูงถึง 100,000 – 1,000,000 ครั้ง แต่ข้อจำกัดที่เห็นได้ชัดคือ จ่ายไฟไม่เสถียร เก็บพลังงานได้น้อย ต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งปัจจุบันนำไปใช้เป็นแค่ตัวช่วยในการรีดอัตราเร่งเท่านั้น ยังไม่ถูกนำมาใช้ในรถยนต์ EV แต่อย่างใด

6. แบตเตอรี่โซลิดสเตต

เป็นแบตเตอรี่ที่สร้างกระแสได้เยอะมาก ๆ ในวงการแบตรถยนต์ไฟฟ้า EV ซึ่งตัวแบตเป็นแบบแข็ง ให้ความจุและประสิทธิภาพสูงกว่าแบตทุกชนิด รวมถึงอิเธียมไอออนถึง 10 เท่า และที่สำคัญคือ มีโอกาสติดไฟต่ำ เพราะไม่มีส่วนผสมของอิเล็กโทรไลต์ นอกจากนี้ ยังมีความเสถียรมากกว่าแบตชนิดอื่น ส่งผลให้ชาร์จได้อย่างมีประสิทธิภาพและเร็วมากขึ้น แต่ข้อจำกัด คือ ต้นทุนการผลิตสูง และการใช้งานจริงอาจเสี่ยงต่อการแตก หัก หรือได้รับความเสียหายจากการกระแทกจากการขับขี่ได้

7. แบตเตอรี่โซเดียม – ไอออน

ตัวแบตเตอรี่โซเดียม – ไอออน หรือ Sodium Ion Battery / Na-Ion Battery เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “แบตเกลือ” มีข้อดีที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ ต้นทุนการผลิตที่ถูกมากกว่า Li – Ion สามารถชาร์จไฟได้เกือบ 100% ภายในเวลาเพียง 20 นาที ทนความร้อนได้สูง มีรอบการชาร์จ 8,000 – 10,000 ครั้ง แต่ว่าข้อจำกัดคือให้พลังงานได้น้อยกว่า เพราะมี Energy Density ที่ต่ำกว่า เหมาะสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีรอบการวิ่งระยะสั้น ๆ

แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และการใช้งาน)

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ EV ใช้ได้กี่ปี?

อายุของแบตเตอรี่รถไฟฟ้า EV จะขึ้นอยู่กับประเภทของแบตที่ใช้ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้อายุแบตเตอรี่ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอายุการใช้งานของแบตรถไฟฟ้า EV จะมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 – 20 ปี และโดยปกติแล้วผู้ให้บริการหรือค่ายรถยนต์ไฟฟ้า จะมีการรับประกันอายุการใช้งานอยู่แล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 150,000 – 180,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 8 ปี อย่างเช่น ค่ายรถยนต์ BYD ก็มีการรับประกันแบตเตอรี่นานถึง 8 ปี หรือระยะทาง 160,000 กิโลเมตร

ค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า!

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับค่ายรถที่เลือกใช้ รวมถึงประเภทของแบตเตอรี่รถยนต์ EV ด้วยเช่นกัน โดยทาง Plughaus จะสรุปราคาเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรภยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นมาให้ดูกัน ว่าในปัจจุบันแต่ละรุ่นมีราคาเท่าไหร่บ้าง?

  • รถยนต์ไฟฟ้า NETA V ราคา 420,000 บาท
  • BYD Dolphin ราคาเริ่มต้น 309,364.49 บาท
  • BYD ATTO 3 ราคาเริ่มต้น 320,121.50 บาท
  • BYD Seal ราคาเริ่มต้น 451,289.72 บาท
  • MG ZS EV ราคา 450,000 บาท
  • ORA Good Cat ราคา 445,000 – 580,000 บาท

ทั้งนี้ ค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ EV รุ่นอื่น ๆ อาทิ Tesla, Deepal จากแบรนด์ใหม่อย่าง ChangAn ยังไม่มีการเปิดเผยราคาอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด แต่ทางหากเป็นราคาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถไฟฟ้า BYD มีการปรับราคาลดลงมาตามที่ระบุไว้ข้างต้น

การใช้รถยนต์ไฟฟ้า และราคาเปลี่ยนแบตเตอรี่

สรุป

จะเห็นได้เลยว่า แบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า EV นั้น มีหลายชนิดมาก ๆ ซึ่งในปัจจุบันค่ายรถยนต์ก็มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาคุณภาพของแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้นานมากขึ้น มีความทนทานกว่าเดิม รวมถึงการจัดแคมเปญต่าง ๆ เช่น การรับประกันแบตเตอรี่ แต่หากผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าต้องการความมั่นใจที่มากขึ้น ก็อาจเลือกใช้ประกันรถยนต์ EV ที่มีความครอบคลุมในหลาย ๆ ส่วนร่วมด้วย และที่ขาดไม่ได้คือ ใช้เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน หรือติดตั้ง Home Charger ไว้ที่บ้าน เพื่อลดการชาร์จแบบ Fast Charge บ่อย ๆ เพราะส่งผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม

กลับสู่หน้าบทความ

Article Related