แชร์ทริก(ไม่)ลับ เคล็ดลับการบำรุงรักษา EV Charger ให้ใช้งานได้ยาวนาน ไม่พังง่าย

การใช้งาน EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ตาม สิ่งที่คนใช้รถต้องไม่มองข้ามก็คือ การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องชาร์จรถ EV ให้ใช้งานได้ยาวนาน เพราะนอกจากจะช่วยให้มีอายุการใช้งานได้นานแล้ว ยังช่วยเรื่องความปลอดภัยได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะหากเราตรวจเช็กความเรียบร้อยของเครื่องชาร์จอย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้เห็นว่า เครื่องชาร์จรถไฟฟ้ามีความพร้อมในการใช้งานหรือไม่ มีส่วนที่ชำรุดเสียหาย หรือว่าเครื่องไม่พร้อมใช้งานเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ไหม เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาดูกันว่า การดูแลรักษาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน หรือ Home Charger นั้น มีอะไรบ้าง

วิธีการดูแลรักษาเครื่องชาร์จรถ EV Charger

How-To การดูแลรักษาเครื่องชาร์จรถ EV แบบง่าย ๆ

การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องชาร์จรถ EV Charger นั้น นอกจากการดูแลความเรียบร้อยของตัวเครื่องและสายไฟแล้ว ยังมีจุดสังเกตอีกหลายจุดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพราะฉะนั้น มาดูกันว่าการวิธีการดูแลรักษาเครื่องชาร์จ EV ให้ใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัยนั้น มีอะไรบ้างที่คนใช้รถอีวีสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

1. ความเรียบร้อยของเครื่องชาร์จรถ EV

การดูแลรักษาเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ง่ายที่สุดในทุก ๆ วัน ก็คือการตรวจเช็กความเรียบร้อยของเครื่องชาร์จ สายไฟ หัวชาร์จรถ EV และขั้วต่อ เพื่อดูว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมใช้งานแค่ไหน มีความเสียหายทางกายภาพเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการตรวจเช็กเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเป็นประจำ จะทำให้เราเห็นความสึกหรอได้ไว หากมีปัญหาหรือว่าความผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวอุปกรณ์ ก็จะสามารถแก้ไขได้ไวกว่าและปัญหาไม่ลุกลาม

2. การทำความสะอาด Home Charger

การรักษาความสะอาดของเครื่องชาร์จก็ถือว่าสำคัญและไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะนอกจากจะทำให้เครื่องชาร์จไม่เก่าไวแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย เช่น การเช็ดฝุ่นหรือว่าทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวที่ชาร์จเป็นประจำ ก็จะช่วยทำให้การกระจายความร้อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งวิธีการทำความสะอวดเครื่องชาร์จนั้น ตามคู่มือของ EV Charger จะมีการระบุขั้นตอนเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำความสะอาดเองได้ ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วสามารถทำความสะอาดเองได้ง่าย ๆ ดังนี้

  • ปิดเครื่องชาร์จก่อนเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากกระแสไฟฟ้า
  • ถอดปลั๊กเครื่องชาร์จออกจากแหล่งจ่ายไฟ เพื่อไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในขณะทำความสะอาด
  • กำจัดเศษฝุ่นและคราบต่าง ๆ เช่น คราบน้ำ ด้วยการใช้แปรงขนนุ่มหรือผ้าไมโครไฟเบอร์ เพื่อลดการขีดข่วนบนพื้นผิว
  • ใช้นำยาทำความสะอาดเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะต้องเป็นน้ำยาที่อ่อนโยนและไม่ทำร้ายพื้นผิว
  • การเช็ดทำความสะอาดนอกจากบริเวณเครื่องชาร์จแล้ว อย่าลืมเช็ดสายไฟและขั้วต่อทุกครั้ง
  • การล้างเครื่องชาร์จด้วยน้ำ ควรล้างด้วยการใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ ห้ามฉีดน้ำจากสายยางหรือเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงอย่างเด็ดขาด
  • เช็ดเครื่องชาร์จและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แห้ง และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแห้งสนิทแล้วก่อนเสียบปลั๊กกลับเข้าไปใหม่เพื่อใช้งาน

3. การอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบของเครื่องชาร์จ

การใช้งานเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าหลาย ๆ รุ่น ก็จะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็อาจจะต้องหมั่นอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นระยะ ซึ่งจุดนี้อาจจะต้องเช็กจากรุ่นเครื่องชาร์จที่ใช้ รวมถึงตัวระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยจะต้องสังเกตทั้งตัวระบบ และไฟแสดงสถานะเครื่องชาร์จไปพร้อม ๆ กัน หากพบปัญหาอาจจะลองรีเซ็ตดูก่อนสักครั้งหนึ่ง หากพบว่าปัญหาเครื่องชาร์จนั้นยังไม่หายไป แนะนำว่าให้ติดต่อผู้ใช้บริการที่ได้เข้ามาติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพื่อหาทางออกและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

4. การตรวจสอบความปลอดภัยด้านไฟฟ้า

การหมั่นสังเกตความปลอดภัยและการเชื่อมต่อทางไฟฟ้า รวมถึงสายไฟที่ใช้เป็นระยะ ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับคนใช้รถยนต์ EV เช่นกัน เพราะทุกครั้งที่จะใช้งานเครื่องชาร์จ จะต้องมั่นใจว่าอยู่ในสภาพดีและพร้อมในการใช้งาน เป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย ซึ่งการตรวจเช็กในส่วนนี้ก็ต้องสัมพันธ์กับการติดตั้งเครื่องชาร์จด้วยเช่นกัน เพราะการติดตั้งเครื่องชาร์จก็ต้องมีสายดินด้วย เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานเอง

5. การบำรุงรักษาเครื่องชาร์จอย่างสม่ำเสมอ

บางครั้งการดูแลรักษาให้ EV Charger ใช้งานได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ ก็ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีความรู้มาตรวจเช็กให้เช่นกัน อาทิ อุปกรณ์ภายใน และหากพบความผิดปกติหรือเห็นว่าเครื่องชาร์จมีปัญหา แนะนำให้ติดต่อกับทีมงานที่มาติดตั้งให้ เพื่อตรวจสอบดูว่าปัญหาที่พบนั้นเกิดจากอะไร มีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายภายในหรือไม่
ดังนั้น เมื่อทำการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านไปแล้ว ก็อย่าลืมหมั่นตรวจเช็กความเรียบร้อยทุกครั้ง เพราะหากปัญหาเกิดขึ้นและยังอยู่ในระยะเวลาการรับประกันหลังการติดตั้ง ก็จะได้ให้ทีมงานเข้ามาตรวจเช็กและแก้ไขให้ได้ อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษาผู้ผลิตหรือว่าผู้ให้บริการโดยส่วนมาก จะมีการตรวจสอบอุปกรณ์เป็นระยะ ๆ อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น อย่าลืมใช้บริการและให้ช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบอุปกรณ์ตามกำหนด (อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง)

วิธีการบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ภายในของ EV Charger

มั่นใจได้มากกว่า ด้วยการรับประกันงานติดตั้ง 2 ปี ที่ PlugHaus

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือว่ารถยนต์ EV ที่กำลังมองหาผู้ให้บริการด้านการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐาน และการรับประกันหลังงานติดตั้งที่ครบวงจร เพียงเลือกใช้บริการกับทาง PlugHaus Thailand วันนี้ ทางเรามีบริการการรับประกันให้นานถึง 2 ปี และยังมีประกันงานวินาศภัยอีก 30 ล้านบาท ไม่รวมสิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในบางรุ่น ที่สำคัญ มีงบเริ่มต้นเพียงแค่ 13,900 บาท ก็สามารถติดตั้ง Home Charger ที่บ้านได้แล้ว!

EV Charger คืออะไร มีกี่แบบ แล้วมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านดียังไง?

จากการเติบโตของตลาดรถยนต์ EV ในเมืองไทย ก็ต้องยอมรับเลยว่าเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้านั้นมาแรงอย่างต่อเนื่อง การขยายพื้นที่ให้บริการ EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ก็ย่อมเพิ่มจำนวนที่มากขึ้น เพื่อรองรับจำนวนผู้ใช้งานในทุก ๆ พื้นที่เช่นกัน เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ EV Charger Station กันให้มากขึ้น ว่าคืออะไร มีกี่แบบ แล้วแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับ EV Charger คืออะไร แล้วมีกี่แบบ

EV Charger คืออะไร?

EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า คือ อุปกรณ์หรือระบบที่ใช้สำหรับชาร์จไฟเข้าสู่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) ทุกชนิด เพื่อให้มีพลังงานพร้อมใช้ภายในระบบ โดยตัวระบบของ EV Charger Station หรือก็คือระบบการชาร์จไฟของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ การชาร์จแบบปกติ หรือที่เรียกกันว่า AC Charger และ การชาร์จแบบเร็ว หรือก็คือ DC Charger โดยการชาร์จแต่ละแบบก็จะมีความต่างกัน ทั้งเรื่องของกระแสไฟฟ้าและความเร็วของการชาร์จในแต่ละครั้ง

EV Charger มีกี่แบบ?

อย่างที่เราอธิบายไปในข้างต้นว่า ระบบการชาร์จไฟของ EV Charger นั้น จะมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ AC Charger และ DC Charger เพราะฉะนั้น เราจะพาคุณมาดูความแตกต่างของการชาร์จทั้งสองชนิดนี้กัน ว่าแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์ EV สามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับรถที่ใช้

1. การชาร์จแบบปกติ หรือ AC Charger

การชาร์จไฟแบบปกติ Normal Charge หรือที่เรียกกันว่าการชาร์จแบบ AC Charger นั้น คือการชาร์จไฟด้วยไฟฟ้ากระแสสลับจากตัว Wallbox ผ่านตัว On Board Charger ที่มีภายในตัวรถ หลังจากนั้นจะทำการแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ สำหรับการชาร์จแบบปกติหรือ AC Charger นี้ จะมีหัวชาร์จทั้งแบบ Type 1 และ Type 2 ซึ่งในประเทศไทยจะเป็นหัวชาร์จแบบ Type 2 มากกว่า โดยหัวชาร์จชนิดนี้สามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 22 kW สำหรับไฟฟ้า 3 Phase และเป็นหัวต่อแบบ 7 Pin เรียกว่าเป็นหัวชาร์จที่เป็นมาตรฐานหัวชาร์จในไทยก็ว่าได้

2. การชาร์จแบบเร็ว หรือ DC Charger

การชาร์จไฟแบบเร็ว Quick Charge หรือ DC Charger นี้ เป็นการชาร์จไฟที่นิยมใช้กับตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger Station ตามสถานีให้บริการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า โดยการชาร์จในรูปแบบนี้ ถูกพัฒนามาจากการชาร์จแบบ AC แต่จะใช้วิธีการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรงเข้าสู่แบตเตอรี่ โดยไม่ผ่าน On Board Charger จึงทำให้กระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ได้ไวกว่า เรียกว่า สามารถชาร์จไฟจาก 10% ไปถึง 80% ได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับความจุแบตของรถ)

โดยการชาร์จในรูปแบบนี้ จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา เช่น ชาร์จไฟเมื่อต้องเดินทางไกลไปต่างจังหวัด แต่จะไม่เหมาะสำหรับการชาร์จเป็นประจำทุกวัน เพราะว่าการชาร์จแบบนี้จะส่งผลต่อตัวแบต ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ไว โดยปัจจุบันหัวชาร์จที่ใช้กับเครื่องชาร์จแบบ DC Charger นั้น มีทั้งแบบ CHAdeMO และ CCS (มี Type 1 และ Type 2) โดยในไทยจะนิยมใช้เป็น CCS Type 2 (CCS Combo 2)

“การชาร์จไฟด้วยเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า DC Charger ถึงแม้ว่าจะสะดวกและรวดเร็วกว่า แต่อัตราค่าบริการก็ถือว่าสูงกว่าการชาร์จแบบ AC Charger พอสมควร ซึ่งการชาร์จแบบเร็วจะนิยมใช้กับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามจุดให้บริการต่าง ๆ ส่วนการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จะติดตั้งแบบ AC Charger”

การใช้รถยนต์ไฟฟ้า และการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน

ใช้รถ EV ควรมีเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านหรือไม่?

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น BEV หรือแม้แต่ PHEV ที่ต้องชาร์จไฟเพื่อเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่สำหรับใช้งานนั้น การมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger เอาไว้ที่บ้าน ก็ถือว่าตอบโจทย์และช่วยทำให้การใช้รถสะดวกมากขึ้น เพราะสามารถชาร์จไฟได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปชาร์จไฟตามสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทุกครั้ง เพราะการชาร์จไฟที่บ้านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เมื่อชาร์จไฟในเวลา Off-Peak โดยเฉพาะบ้านที่ใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU

ข้อดีของการมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

  • สามารถชาร์จไฟในเวลาไหนก็ได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องไปต่อคิวหรือจองเพื่อใช้บริการสถานีชาร์จ
  • เลือกเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าได้ตามที่ต้องการ ทั้งการติดตั้ง EV Charger ของค่ายรถยนต์ หรือการเลือกซื้อเครื่องชาร์จจากผู้จัดจำหน่ายโดยตรง
  • ไม่ว่าจะเป็นบ้านที่ใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 Phase หรือ 3 Phase ก็สามารถติดตั้ง EV Charger ได้ โดยที่ไม่ให้กระทบกับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
  • สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เมื่อเลือกใช้มิเตอร์ไฟฟ้าแบบ TOU โดยเฉพาะครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าในเวลา Off-Peak เป็นหลัก
  • ติดตามสถานะของการชาร์จไฟ และคำนวณการใช้ค่าไฟได้ในแต่ละเดือนผ่านทางแอปพลิเคชัน
การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Charger ที่บ้าน

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เลือกแบบไหนดี?

การติดตั้ง EV Charger ที่บ้านนั้น เริ่มต้นต้องดูจาก “Phase” ของมิเตอร์ไฟฟ้าว่าเป็นแบบไหน ซึ่งส่วนมากแล้วบ้านทั่วไปจะใช้ Single-Phase 15(45)A ซึ่งถือว่ายังไม่พอในการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า เพราะโดยทั่วไปแล้วเครื่องชาร์จจะใช้กำลังไฟที่สูงถึง 32A ดังนั้น หากติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแล้วใช้ไฟไปพร้อม ๆ กัน ก็อาจจะทำให้กระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อความต้องการได้ ทำให้เกิดปัญหาฟ้าเกินและทำให้ไฟดับได้

ดังนั้น การติดตั้ง EV Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน จะต้องทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถรองรับการโหลดรวมของบ้านได้ เช่น เปลี่ยนมิเตอร์เป็นขนาด Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A ซึ่งเป็นขนาดมิเตอร์ที่ทางการไฟฟ้าฯ แนะนำ ดังนั้น หากบ้านของคุณยังเป็นมิเตอร์แบบ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A จะต้องแจ้งเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าก่อนที่จะติดตั้ง EV Charger

เอกสารที่ใช้เพื่อขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้ากับ PEA และ MEA

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ต้องการขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์การครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า หากไม่ใช่เจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอม
  • ใบเสร็จหรือบิลค่าไฟฟ้าย้อนหลัง (ประมาณ 3 – 4 เดือน)
  • ข้อมูลของรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ เพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ประเมินว่ามิเตอร์ที่ต้องการเปลี่ยนเพียงพอหรือไม่
  • ใบมอบอำนาจหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ หากดำเนินการแทนเจ้าของบ้าน
  • แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งของสถานที่ของใช้ไฟฟ้า

ระยะเวลาการดำเนินงานของการเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า

  • มิเตอร์ขนาด 5(15)A – 15(45)A ใช้เวลาภายใน 4 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 30(100)A – 50(150)A ใช้เวลาภายใน 8 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 200A – 400A ใช้เวลาภายใน 18 วันทำการ

หมายเหตุ : ระยะเวลาในการดำเนินการ ไม่รวมเวลาในการเดินทาง และเวลาในการรอคอยนัดหมาย

ติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน เลือก PlugHaus Thailand

ติดตั้ง EV Charger ที่บ้านแบบง่าย ๆ กับ PlugHaus

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือผู้ใช้รถ EV ที่กำลังมองหา Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน ที่มีมาตรฐานจาก MEA และ PEA พร้อมทีมงานที่มากประสบการณ์ คอยดูแลการติดตั้งในทุกขั้นตอน เพียงเลือกใช้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากับทาง PlugHaus Thailand วันนี้ รับสิทธิพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นมากมาย ไม่ว่าจะเลือกติดตั้ง EV Charger ที่บ้านแบรนด์ใดก็ตาม ทางเราก็จะมีประกันคุณภาพพร้อมการบริการหลังการขายแบบครบวงจร ที่สำคัญคือ รับประกันงานหลังติดตั้งนาน 2 ปี และประกันงานวินาศภัยสูงสุด 30 ล้านบาท

รีวิว Wallbox Pulsar Plus เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus นั้น ถือว่าเป็นหนึ่งใน เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ที่ได้รับความนิยมอีกหนึ่งรุ่นในตอนนี้ ส่งตรงจากสเปน ด้วยการออกแบบที่ทันสมัย มีขนาดเครื่องที่กะทัดรัด สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่ที่จำกัด ที่สำคัญคือ มีหลายขนาดให้เลือก ทำให้ผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า สามารถเลือกขนาดที่เหมาะสมกับรถที่ใช้ได้ เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาดูกันว่า จุดเด่นของ Wallbox Pulsar Plus EV Charger รุ่นนี้มีอะไรบ้าง แล้วฟังก์ชันเด่น ๆ ที่มีมาให้นั้นคุ้มค่ามากแค่ไหน หากจะนำมาติดตั้งเพื่อใช้งานที่บ้าน

รีวิว Wallbox Pulsar Plus เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน

ทำความรู้จัก เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus

สำหรับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus นั้น เป็นเครื่องชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV และ EV โดยตัวเครื่องออกแบบมาให้มีความกะทัดรัด ทันสมัย และมีเทคโนโลยีที่หลากหลาย ที่ถือว่าทันสมัยและเหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่ก็มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยตัวเครื่องออกแบบมาให้สามารถมีประสิทธิภาพการชาร์จได้ถึง 22 kW เหมาะสำหรับการติดตั้งไว้ที่บ้านหรือที่พักอาศัย นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจเข้ามา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ Wallbox Pulsar Plus EV Charger ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จุดเด่นของเครื่องชาร์จ Wallbox Pulsar Plus

  • มีขนาดที่เล็กและกะทัดรัด ด้วยดีไซน์ทันสมัย เข้าได้กับบ้านทุกสไตล์
  • ใช้กับรถยนต์ EV และ PHEV ได้ทุกแบรนด์ ที่รองรับหัวชาร์จ Type 1 และ Type 2
  • มีขนาดสายชาร์จอยู่ที่ 5 x 10 ตารางมิลลิเมตร
  • กระแสไฟตั้งแต่ 6 A ถึง Rate Current
  • มาตรฐานการป้องกันน้ำและฝุ่น IP54 / IK10
  • มีเซ็นเซอร์ตรวจจับบกระแสไฟตกค้างหรือไฟรั่ว ประเภท DC 6mA
  • รองรับการเชื่อมต่อและควบคุมการชาร์จผ่านทางแอปพลิเคชัน myWallbox
  • กดชาร์จและหยุดชาร์จได้ผ่านทาง Wallbox Pulsar Plus App
  • สามารถเชื่อมต่อได้ทั้ง Wi-Fi และ Bluetooth
  • สามารถตั้งเวลาการชาร์จ วันที่ในการชาร์จได้ภายในเครื่อง
  • มีระบบช่วยคำนวณค่าไฟ พร้อมการแจ้งเตือนแบบ Real Time
  • สามารถดูสถิติการชาร์จไฟได้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบอัตราการใช้ไฟ
  • มีไฟ LED แสดงสถานะเครื่องชาร์จ
  • ประเภทของเครื่องชาร์เป็นแบบ Mode 3 (การชาร์จไฟกระแสสลับ)
Review Wallbox Pulsar Plus ขนาด 7.4 kW และ 22 kW

Review Wallbox Pulsar Plus ขนาด 7.4 kW

สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus รุ่น 7.4 kW นั้น เป็นรุ่นเริ่มต้นที่ถือว่ามีความครอบคลุมในการใช้งานพอสมควร โดยตัวเครื่องมีน้ำหนักเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น (ไม่รวมสายชาร์จ) โดยตัวสายชาร์จนั้นมีความยาวอยู่ที่ 5 เมตร หัวชาร์จใช้ได้ทั้งประเภท Type 1 และ Type 2

คุณสมบัติเพิ่มเติม

  • มี 2 สีให้เลือก คือ ขาว และดำ
  • Power Charging
  • ขนาด 116 x 163 x 82 มิลลิเมตร
  • รองรับการชาร์จไฟสูงสุด 7.4 kW (1 Phase)
  • แรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 220 – 240 V
  • ปรับกระแสการชาร์จและตั้งเวลาได้
  • รองรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เมื่อติดตั้ง Solar Charging Enabled

ราคาจำหน่าย รุ่นสายยาว 5 เมตร

  • ราคาเครื่องชาร์จ 37,000 บาท
  • ราคาเครื่องชาร์จ พร้อมค่าติดตั้ง 49,000 บาท

ราคาจำหน่าย รุ่นสายยาว 7 เมตร

  • ราคาเครื่องชาร์จ 42,900 บาท
  • ราคาเครื่องชาร์จ พร้อมค่าติดตั้ง 54,900 บาท
Review Wallbox Pulsar Plus ขนาด 7.4 kW และ 22 kW

Review Wallbox Pulsar Plus ขนาด 22 kW

สำหรับเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Plus ขนาด 22 kW ก็มีขนาดสเปกหรือเทคโนโลยีที่เทียบเท่ากับรุ่นขนาด 7.4 kW แต่เพียงแค่มีกำลังไฟที่มากกว่าเท่านั้น โดยตัวเครื่องก็ยังคงเป็นประเภท Mode 3 อยู่เช่นเดิม แต่มีความพิเศษเข้ามาคือ ในรุ่นขนาด 22 kW นี้ สามารถใช้กับไฟฟ้า 3 Phase ได้ ซึ่งเหมาะกับบ้านที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูง

คุณสมบัติเพิ่มเติม

  • Power Charging
  • ขนาด 166 x 163 x 82 มิลลิเมตร
  • รองรับการชาร์จไฟสูงสุด 22 kW หรือระบบไฟ 3 Phase
  • แรงดันไฟฟ้าพิกัด 400 V (11 kW – 22 kW)
  • กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จคือ 32 A (22 kW – 3 Phase)

ราคาจำหน่าย รุ่นสายยาว 5 เมตร

  • ราคาเครื่องชาร์จ 48,900 บาท
  • ราคาเครื่องชาร์จ พร้อมค่าติดตั้ง 63,900 บาท

ราคาจำหน่าย รุ่นสายยาว 7 เมตร

  • ราคาเครื่องชาร์จ 53,900 บาท
  • ราคาเครื่องชาร์จ พร้อมค่าติดตั้ง 68,900 บาท
วิธีการใช้งาน เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus

Tips การใช้งานของเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Plus

การใช้งานเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ยี่ห้อ Wallbox รุ่น Pulsar Plus หลักการในการใช้งานแบบเบื้องต้น จะต้องดูจากสีแสดงสถานะจากไฟ LED ที่อยู่บนตัวเครื่องโดยตรง และก่อนชาร์จจะต้องดูว่าเครื่องชาร์จพร้อมใช้งานหรือไม่

  • ไฟสีเขียว หมายถึง ตัวเครื่องพร้อมใช้งาน
  • ไฟสีฟ้า หมายถึง เครื่องชาร์จกำลังเชื่อมต่อกับรถยนต์
  • ไฟสีน้ำเงิน หมายถึง เครื่องกำลังทำการชาร์จไฟ
  • ไฟสีเหลือง หมายถึง สถานะล็อกหรือปลดล็อก
  • ไฟสีแดง หมายถึง ระบบขัดข้องหรือสายดินมีปัญหา

สำหรับสถานะล็อกหรือปลดล็อกของตัวเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger จะช่วยป้องกันไม่ให้มีใครมาใช้งานเครื่องชาร์จของเราได้ โดยเฉพาะการติดตั้งในพื้นที่ที่ไม่ห่างจากรั้วบ้านมากนัก หรืออยู่ในหมู่บ้านที่เป็นโครงการ เช่น ทาวน์เฮ้าส์ หรือทาวน์โฮม และที่สำคัญคือ สามารถปรับกระแสไฟฟ้าได้ง่าย ๆ ผ่านตัวแอปโดยตรง ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้ถนอมแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน เลือก Plughaus Thailand

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Plus เลือก PlugHaus

สำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถยนต์ EV และ PHEV ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อ Wallbox Pulsar Plus ไม่ว่าจะเป็นรุ่นขนาด 7.4 kW สำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส หรือรุ่นขนาด 22 kW สำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส ก็สามารถเลือกรุ่นที่ต้องการพร้อมติดต่อมาได้ที่ PlugHaus Thailand โดยเรามีทั้งบริการจำหน่ายเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (เฉพาะตัวเครื่อง) และบริการติดตั้งเครื่องชาร์จให้ถึงบ้าน ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ มีมาตรฐานการติดตั้งที่ผ่านการรับรองจาก PEA และ MEA และที่สำคัญ รับประกันงานติดตั้ง 2 ปี และประกันงานวินาศภัยอีก 30 ล้านบาท

7 รถยนต์ไฟฟ้า 2024 เปิดตัวใหม่ มาแรง ราคาสุดว้าว ส่องสเปกเลยก่อนซื้อ!

ในบรรดา รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ในไทย ที่เปิดจำหน่ายและทำการตลาดปีนี้ ต้องยอมรับเลยว่ามีหลายรุ่นที่มาแรงและน่าสนใจมาก ๆ เพราะหลายรุ่นก็ถือว่าน่าใช้ มีราคาที่จับต้องได้ เช่น รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก อย่างกลุ่ม Neta V ที่ถูกใจคนยุคใหม่ หรือแม้แต่แบรนด์ดังอย่าง Tesla, GWM หรือแม้แต่ BYD ที่ก็ได้รับความนิยมในเมืองไทยไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้น เราจะมารีวิวให้ดูกัน รถยนต์ไฟฟ้าในไทยที่มีจำหน่ายในปี 2024 นี้ มีรุ่นไหนบ้างที่น่าใช้ พร้อมอัปเดตสเปกรถ EV และราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการ!

รีวิว 7 รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ในไทย พร้อมราคาจำหน่าย

สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ที่จำหน่ายในเมืองไทยในตอนนี้ ก็มีหลากหลายรุ่นที่น่าสนใจ ซึ่งในบางรุ่นก็เพิ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายมาหมาด ๆ เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาอัปเดตกัน ว่าแต่ละแบรนด์มีรุ่นไหนบ้างที่น่าสนใจ มีราคาเท่าไหร่บ้าง บอกเลยว่าแต่ละรุ่นนั้นจัดเต็มทั้งออปชั่น สเปก และราคาจำหน่ายจากโปรโมชั่นล่าสุดที่ถูกใจคอรถ EV แน่นอน

รถยนต์ไฟฟ้า MINI Cooper SE 2024

1. MINI Cooper SE 2024

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เปิดตัวมาหมาด ๆ ในตลาดรถ EV ของเมืองไทย ก็ต้องยกให้กับ MINI Cooper SE 2024 เจเนอเรชันที่ 5 ซึ่งเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% จากค่ายมินิ ที่มาพร้อมกับการตกแต่งภายในใหม่ มีระบบเชื่อมต่อดิจิตอล พร้อมกับการควบคุมการใช้งานที่ครบครัน ภายใต้การออกแบบที่ยังคงเอกลักษณ์ของความเป็น MINI เช่นเดิม แต่ที่โดดเด่นกว่าคือ สมรรถนะการขับขี่แบบ Electrified Go-Kart ที่เป็นนิยามใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าขนาดกะทัดรัด ที่ถูกยกระดับให้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นยิ่งขึ้น

จุดเด่น

  • มิติตัวรถ (ยาว x กว้าง x สูง) 3,858 x 1,756 x 1,460 มม.
  • ออกแบบสัญลักษณ์ไฟหน้า LED แบบใหม่ ที่แตกต่างกันถึง 3 แบบ
  • ไฟท้าย Union Jack หลอด LED เมื่อสัมผัสได้ถึงกุญแจรถ
  • เดินเข้าใกล้รถจะทำการปลดล็อกรถให้ทันที พร้อมไฟต้อนรับเจ้าของรถ
  • ไฟหน้าทรงกลมและไฟท้าย ที่มีลูกเล่นปรับได้ถึง 3 โหมด คือ Classic, Favoured และ JCW
  • ออกแบบจอกลางใหม่ OLED ความละเอียดสูงทรงกลม พร้อมเป็นศูนย์กลางระบบ Infotainment
  • แผงควบคุมดีไซน์ Toggle Bar ที่รวมทุกฟังก์ชันเอาไว้จุดเดียว
  • ชุดแต่ง Favoured Trim พร้อมเบาะนั่งแบบสปอร์ต Vascin สี Nightshade Blue
  • มีโหมดการใช้งาน MINI Experience ถึง 7 รูปแบบ

แบตเตอรี่

  • มอเตอร์พลังงานไฟฟ้า 160 กิโลวัตต์ / 218 แรงม้า
  • แบตเตอรี่ความจุ 54.2 kWh
  • ชาร์จ DC ได้สูงสุด 95 kW และ AC สูงสุด 11 kW
  • ขับขี่ได้สูงสุด 402 กม. (มาตรฐาน WLTP)

ราคาจำหน่าย

  • MINI Cooper SE 2024 ราคา 1,699,000 บาท
รถยนต์ไฟฟ้า NETA X 2024

2. NETA X 2024

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามาแรงปี 2024 ที่เพิ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเมืองไทยไปหมาด ๆ ก็คือ Neta X ซึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า C-SUV ที่คุ้มค่ามาก ๆ มีขนาดเล็กกว่า Honda CR-V แต่ใหญ่กว่า BYD Atto 3 หรือ Aion Y Plus ซึ่งตัวรถจะโดดเด่นในเรื่องของระบบความปลอดภัย ที่มีกล้องรอบคัน พร้อมกับเซนเซอร์เตือนการชนแบบรอบคันเช่นกัน และที่ขาดไม่ได้คือ การเปลี่ยนคันเกียร์มาใช้คันเกียร์คอเหมือนกับ Neta V และ Neta S

จุดเด่น

  • มิติตัวรถ (ยาว x กว้าง x สูง) 4,619 x 1,860 x 1,628 มม.
  • ระบบขับเคลื่อน FWD ขับเคลื่อนล้อหน้า
  • มี 2 รุ่นย่อยให้เลือก คือ Comfort และ Smart
  • ภายในห้องโดยสารมีหน้าจอกลางขนาดใหญ่ 15.6 นิ้ว ควบคุมการทำงานของตัวรถ
  • หน้าขอเรือนไมล์มีขนาด 8.9 นิ้ว
  • ใช้หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU พร้อมชิพ Qualcomm Snapdragon 8155

แบตเตอรี่

  • 1 มอเตอร์ 120 kW พละกำลังสูงสุด 161 แรงม้า
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ความจุ 62 kWh
  • แรงดันไฟฟ้า 400 V ชาร์จ AC Type 2 6.6 kW
  • รองรับการชาร์จ DC CCS 2 รุ่น Comfort 65 kW และรุ่น Smart 100 kW
  • รุ่น Comfort ขับขี่ได้สูงสุด 401 กม. และรุ่น Smart 480 กม. (มาตรฐาน NEDC)

ราคาจำหน่าย

  • NETA X รุ่น Comfort ราคา 739,000 บาท
  • NETA X รุ่น Smart ราคา 799,000 บาท
BYD Dolphin 2024

3. BYD Dolphin 2024

ถ้าหากกล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้า 100% ที่ติดอันดับมาแรง และมีการปรับราคาจนทำให้หลาย ๆ คนฮือฮากัน ก็ต้องยกให้กับ BYD Dolphin 2024 ที่นอกจากจะมีดีไซน์ที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งานในเมืองแล้ว เรื่องแบตเตอรี่และระยะทางในการใช้งานก็ถือว่าครอบคลุม โดยเฉพาะสวิตช์หน้าจอแบบ Muti-function บนพวงมาลัย นอกจากนี้ ยังมีระบบ Auto Brake Hold ที่ช่วยให้การขับขี่ง่ายยิ่งขึ้น ส่วนระบบความปลอดภัยก็มีครบ เช่น ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่อัจฉริยะ (ADAS), ระบบควบคุมเสถียรภาพของตัวรถ (ESC) หรือแม้แต่ระบบการเตือนวัตถุผ่านขณะเปิดประตู (DOW)

แบตเตอรี่

รุ่น Standard Range

  • มอเตอร์แม่เล็กถาวร 1 ตัว กำลัง 70 kW
  • กำลังสูงสุด 95 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 170 กม./ชม.
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน Blade Battery LFP
  • ความจุพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 44.9 kWh แรงดัน 400 V
  • ชาร์จ AC 7 kW และ DC 60 kW
  • วิ่งได้สูงสุด 410 กม. (มาตรฐาน NEDC)

รุ่น Extended Range

  • มอเตอร์แม่เล็กถาวร 1 ตัว กำลัง 150 kW
  • กำลังสูงสุด 201 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 170 กม./ชม.
  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน Blade Battery LFP
  • ความจุพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 60.48 kWh แรงดัน 400V
  • ชาร์จ AC 7 kW และชาร์จ DC 80 kW
  • วิ่งได้สูงสุด 490 กม. (มาตรฐาน NEDC)

ราคาจำหน่าย

  • BYD Dolphin รุ่น Standard Range ลดราคา 559,900 บาท (จาก 699,999 บาท)
  • BYD Dolphin รุ่น Extended Range ลดราคา 699,900 บาท (จาก 859,999 บาท)
ORA good Cat 2024

4. ORA Good Cat 2024

สำหรับเจ้าเหมียวที่แสนดีอย่าง ORA Good Cat ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งรถยนต์ไฟฟ้าปี 2024 ที่มาแรงและน่าใช้งานมาก ๆ ในไทยอยู่เช่นเดิม ซึ่งในปีนี้ทาง GWM ก็ได้เดินสายการผลิต New GWM ORA Good Cat แบรนด์แรกในไทยตามนโยบาย ZEV 3.0 ของรัฐ พร้อมราคาเริ่มต้นที่น่าสนใจ เพียงแค่ 799,000 บาท เท่านั้น โดยจุดเด่นของรุ่นนี้นอกจากจะมี 3 รุ่นย่อยให้เลือกแล้ว สีภายนอกก็มีให้เลือกหลายเฉด พร้อมด้วยโหมดการขับขี่ที่จัดเต็ม เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายสไตล์

จุดเด่น

  • มี 3 รุ่นย่อย คือ Pro, Ultra และ GT
  • รุ่น Pro และ Ultra มีสีภายนอกให้เลือก 5 เฉดสี ส่วนสีภายในมีให้เลือก 4 สี
  • รุ่น GT มีสีภายนอกให้เลือก 2 เฉดสี ส่วนสีภายในมีแค่ 1 สี
  • รุ่น Pro และ Ultra มีระบบการขับขี่ 5 แบบ คือ ปกติ, สปอร์ต, ประหยัด, ECO+ และ ออโต้
  • รุ่น GT มีให้เลือก 6 โหมด โดยเพิ่มโหมดการขับขี่ส่วนบุคคลเข้ามา (ปรับตามแบตที่คงเหลือ)
  • มีเทคโนโลยีการขับขี่และการอำนวยความสะดวกมากกว่า 31 รายการ
  • นำฟังก์ชัน V2L หรือระบบการจ่ายไฟจากตัวรถไปยังอุปกรณ์H3: แบตเตอรี่ ไฟฟ้าเข้ามาในรุ่น Ultra และ GT
  • ใช้มอเตอร์ Permanent Magnet Synchronous Motor
  • รุ่น Pro และ Ultra มีพละกำลังสูงสุดที่ 143 แรงม้า วิ่งได้สูงสุด 480 กม. (มาตรฐาน NEDC)
  • รุ่น GT มีพละกำลังสูงสุดที่ 171 แรงม้า วิ่งได้สูงสุด 460 กม. (มาตรฐาน NEDC)
  • ชาร์จ AC 9 ชั่วโมง ส่วน DC 0% – 80% ภายใน 54 นาที และ 30% – 80% ภายใน 38 นาที

ราคาจำหน่าย

  • New ORA Good Cat 2024 รุ่น Pro ราคา 799,000 บาท
  • New ORA Good Cat 2024 รุ่น Ultra ราคา 899,000 บาท
  • New ORA Good Cat 2024 รุ่น Pro ราคา 1.099,000 บาท
BYD ATTO 3 2024

BYD ATTO 3 2024

โดยเจ้า BYD ATTO 3 ก็นับว่าเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 5 ที่นั่ง ที่ยังคงอยู่ในกระแสอย่างต่อเนื่องในแวดวงของคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% โดยเป็นรถที่นำเข้าทั้งคันจากประเทศจีน ความโดดเด่นคือ ในปี 2024 นี้ มีการจัดโปรโมชั่นเมื่อซื้อรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมแพ็กเกจ Rever Care เอาใจคนใช้รถ เช่น รับ Smart Home Charger ยี่ห้อ AUTEL พร้อมบริการติดตั้ง หรือการบำรุงรักษา ค่าแรง และค่าอะไหล่สูงสุด 8 ปี หรือที่ 160,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยทำให้ตัวรถโดดเด่นมากขึ้น และที่ขาดไม่ได้คือ Logo ด้านหลังเปลี่ยนจาก Build Your Dreams ให้กลายเป็น BYD

จุดเด่น

  • มิติตัวรถ (ยาว x กว้าง x สูง) 4,455 x 1,875 x 1,615 มม.
  • มี 3 รุ่นย่อย คือ Dynamic, Premium และ Extended
  • เปลี่ยนวัสดุตกแต่งหลังคา D-Pillar เป็นสีดำ
  • ทุกรุ่นมีหลังคากระจกพาโนรามิก เลื่อนเปิด – ปิด ด้วยไฟฟ้า
  • ตกแต่ง 2 คู่สี คือ น้ำเงิน – ดำ และน้ำเงิน – เทา
  • มีไฟ Ambient Light สำหรับสร้างบรรยากาศภายใน
  • หน้าจอการแสดงผลคนขับมีขนาด 5 นิ้ว
  • หน้าจอมัลติฟังก์ชันกลาง มีขนาด 15.6 นิ้ว (เพิ่มขึ้น)
  • เพิ่มแอปพลิเคชันคาราโอเกะ สามารถซื้อไมโครโฟนเพิ่มได้

แบตเตอรี่

  • รุ่น Dynamic และ Premium แบตเตอรี่ความจุ 50.2 kWh พละกำลัง 204 แรงม้า วิ่งได้สูงสุด 410 กม. (มาตรฐาน NEDC)
  • รุ่น Extended แบตเตอรี่ความจุ 60.4 kWh พละกำลัง 204 แรงม้า วิ่งได้สูงสุด 480 กม. (มาตรฐาน NEDC)
  • ทั้ง 3 รุ่น สามารถรองรับการชาร์จ AC ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ สูงสุด 7 kW
  • รุ่น Dynamic และ Premium ชาร์จ DC 70 kW ส่วนรุ่น Extended ชาร์จ DC สูงสุด 88 kW

ราคาจำหน่าย

  • BYD ATTO 3 รุ่น Dynamic ราคาใหม่ 799,900 บาท
  • BYD ATTO 3 รุ่น Premium ราคาใหม่ 859,900 บาท
  • BYD ATTO 3 รุ่น Extended MY24 ราคาใหม่ 959,000 บาท
  • BYD ATTO 3 รุ่น Standard MY23 ราคาใหม่ 799,900 บาท
  • BYD ATTO 3 รุ่น Extended MY23 ราคาใหม่ 859,900 บาท
Aion Y Plus 490 Elite - Premium 2024

6. Aion Y Plus 490 Elite – Premium 2024

รถยนต์ไฟฟ้าสำหรับสายครอบครัวอีกหนึ่งคันก็ต้องยกให้กับ Aion Y Plus 490 Elite – Premium ที่มาพร้อมกับการใช้สอยภายในรถที่ครอบคลุมมาก ๆ โดย Aion คือแบรนด์ในเครือ GAC ยักษ์ใหญ่จากแดนมังกร ที่เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยกันได้ไม่นาน แต่ก็สร้างความฮืออาได้ดี มีฟังก์ชันใหม่ ๆ ในรุ่น Premium ที่ถูกเพิ่มมาจากรุ่น 490 Elite ถึง 24 รายการ หนึ่งในนั้นคือระบบ Welcome Seat ปรับระดับอัตโนมัติเมื่อเปิดประตู รวมถึงระบบการขับขี่ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น

จุดเด่น

  • มิติตัวรถ (ยาว x กว้าง x สูง) 4,535 x 1,870 x 1,650 มม.
  • ตัวถังมีให้เลือกทั้งหมด 7 เฉดสี ส่วนสีภายในมีให้เลือก 5 เฉด
  • มี 2 รุ่น คือ Elite และ Premium
  • เบาะแถว 2 กว้าง เหยียดขาได้เต็มที่ เหมาะกับรถครอบครัว
  • เบาะหน้าสามารถถอดพนักพิงแล้วปรับพับให้เชื่อมกับเบาะหลังได้ (ได้ที่นอนขนาด 1.8 เมตร)
  • ระบบกล้องมองรอบคัน 540 องศา
  • มีระบบกรอง PM 2.5
  • ฝาครอบแบตเป็นเหล็ก แข็งแรง ทนทาน หมดปัญหาเรื่องหนูแทะแบตได้ดี

แบตเตอรี่

  • ใช้แบต Magazine Battery ที่มีความปลอดภัยสูง ขนาด 63.2 kWh
  • ให้กำลังสูงสุด 204 แรงม้า ความเร็วสูงสุดคือ 250 km/h
  • ระยะวิ่งได้ไกลสูงสุดคือ 490 กม. (มาตรฐาน NEDC)

ราคาจำหน่าย

  • Aion Y Plus 490 Elite 2024 ราคา 899,900 บาท
  • Aion Y Plus 490 Premium 2024 ราคา 995,900 บาท
Toyota bZ4X 2024

Toyota bZ4X

ปิดท้ายกันด้วยรถยนต์ไฟฟ้าจากพี่ใหญ่ในตลาดรถเมืองไทยอย่าง Toyota bZ4X ที่น่าจับตามองมาก ๆ ในตอนนี้ โดยเฉพาะการอัปเกรดให้ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น ใช้พลังงานไฟฟ้าในตระกูล bZ (Beyond Zero) โดดเด่นทั้งการออกแบบภายนอกและภายใน และที่น่าสนใจมากกว่าคือ ในรุ่นนี้เป็นการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า 100% ร่วมกันกับทาง Subaru ซึ่งเป็นตัวเต็งด้านการออกแบบรถอเนกประสงค์ ทำให้ตัว Toyota bZ4X มีขนาดที่เทียบเท่ากับรถ C-SUV แต่ห้องโดยสารได้พื้นที่เทียบเท่ากับ D-Segment เช่น Tesla Model Y รวมถึง Haval H6

จุดเด่น

  • มิติตัวรถ (ยาว x กว้าง x สูง) 4,690 x 1,860 x 1,650 มม.
  • สีตัวถังมีให้เลือก 6 สี และภายในอีก 2 สี
  • ใช้ตัวถังหรือแพลตฟอร์ม e-TNGA ที่พัฒนามาเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ
  • ติดตั้งแบตไว้ใต้ท้องรถ ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง
  • ใช้ระบบความปลอดภัย Toyota Safety Sense เวอร์ชั่น 3.0
  • ระบบเปิด – ปิด ฝาท้าย โดยไม่ต้องใช้มือ Kicks Sensor
  • ระบบบันทึกความจำ Memory Seat
  • ระบบบันทึกกระจกมองข้าง Memory Mirror
  • มีระบบ Auto Brake Hold พร้อมโหมดการขับขี่ X – Mode

แบตเตอรี่

  • แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ความจุ 71.4 kWh แรงดัน 355 V
  • รองรับการชาร์จ AC ที่ 6.6 kW และ DC 150 kW
  • ใช้ช่องชาร์จ CCS Type 2
  • วิ่งได้ไกลสูงสุด 411 กม. (มาตรฐาน WLTP)

ราคาจำหน่าย

  • Toyota bZ4X ราคา 1,836,000 บาท (รวมส่วนลดจากภาครัฐ)

สำหรับ 7 รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ที่วางจำหน่ายและทำการตลาดในเมืองไทยนั้น แต่ละรุ่นก็ถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน ทั้งรุ่นที่เปิดตัวมาใหม่ และรุ่นที่ลดราคากันอย่างดุเดือด ซึ่งก็เป็นผลมาจากการแข่งขันในตลาดที่สูง บวกกับการเตรียมตัวเปิดตัวรถรุ่นใหม่ของทางแบรนด์ และไม่ว่าคุณจะใช้รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นไหนก็ตาม ก็สามารถเลือกติดตั้ง “เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า กับทาง PlugHaus Thailand ได้เลย การันตีความคุ้มค่า พร้อมมาตรฐานการติดตั้งจาก PEA และ MEA

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนติดตั้ง Home Charger สำหรับชาร์จรถ EV ที่บ้าน

การติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน หรือการติดตั้ง Home Charger ที่สามารถรองรับการชาร์จไฟของรถยนต์ไฟฟ้าทุก ๆ ประเภทนั้น สิ่งที่สำคัญมาก ๆ ไม่แพ้การเลือกยี่ห้อหรือเครื่องชาร์จรถ EV ก็คือการเตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟ ทั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงการใช้มิเตอร์ที่เหมาะสม ซึ่งทาง PlugHaus Thailand จะมาสรุปให้คุณดูกัน ว่าก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน มีอะไรบ้างที่ควรเตรียมให้พร้อม

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม เพื่อติดตั้ง Home Charger

ก่อนที่จะติดตั้ง Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก ๆ คือ ทำความเข้าใจกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ว่าระบบไฟที่ใช้อยู่สามารถรองรับการใช้งานเครื่องชาร์จรถ EV หรือไม่ หากไม่รองรับต้องดำเนินการอย่างไรเพิ่มเติมบ้าง เพื่อให้ระบบไฟฟ้าไม่มีปัญหา และมีความปลอดภัยในการใช้งาน EV Charger

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อม เพื่อติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน

1. ตรวจสอบประเภทหัวปลั๊กของรถ EV

ขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก ๆ ของการติดตั้ง Home Charger คือ ต้องรู้ก่อนว่าหัวปลั๊กของรถยนต์ที่ใช้เป็นแบบไหน เพื่อให้รู้ว่าต้องเลือกเครื่องชาร์จแบบไหน กำลังไฟเท่าไหร่ ระบบไฟฟ้าในบ้านต้องเป็นยังไง ซึ่งหัวปลั๊กของรถ EV ในปัจจุบันนี้ จะมีหัวชาร์จที่ใช้ทั้งหมด 2 รูปแบบหลัก ๆ ที่ใช้สำหรับการชาร์จไฟที่บ้าน ด้วยระบบ AC Charger (ไฟฟ้ากระแสสลับ) ได้แก่

  • Type 1 ส่วนมากเป็นรถญี่ปุ่นและอเมริกา มีหัวต่อแบบ 5 Pin เป็นการชาร์จไฟ 1 เฟส รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดอยู่ที่ 32A หรือ 7.2 kWh เช่น Nissan Leaf และ Tesla
  • Type 2 ส่วนมากเป็นรถยุโรป มีหัวต่อแบบ 7 Pin จ่ายไฟอยู่ที่ 3.7 kWh แต่บางแบรนด์สามารถจ่ายได้มากถึง 11 – 22 kWh เช่น BYD, GMW, Mercedes-Benz, BMW, Volvo, Porsche และ Tesla

โดยส่วนมากแล้วหัวชาร์จที่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยใช้ในปัจจุบัน จะเป็นแบบ Type 2 เพราะฉะนั้น การเลือกติดตั้ง EV Charger ก็สามารถเลือกรุ่นที่เป็นหัวชาร์จ Type 2 ได้เลย สำหรับรถ EV รุ่นใหม่ ๆ ที่จำหน่ายในเมืองไทย เช่น Tesla Model Y 2023 ที่ใช้หัวชาร์จ AC Type 2 แต่หากเป็นการชาร์จแบบ DC Charger (ไฟฟ้ากระแสตรง) จะใช้หัวชาร์จแบบ CSS2

ความแตกต่างของหัวชาร์จ EV Type 1 และ Type 2

2. พิจารณาความสามารถการรับไฟของ On Board Charger

ก่อนจะติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ก็ต้องดูก่อนว่า On Board Charger หรือเครื่องชาร์จที่มากับตัวรถนั้น สามารถรับไฟได้ขนาดไหนบ้าง เพื่อเลือกเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่มีกำลังไฟใกล้เคียงกัน โดยกำลังไฟจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • 6kW เช่น MG ZS, Ora Good Cat และ BYD ATTO 3
  • 11kW เช่น Volvo XC40, Tesla Model 3, BMW iX3 และ Mini Cooper SE 2024
  • 22kW เช่น Porsche Taycan และ Audi e-tron GT

3. ตรวจเช็กของขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้าน

วิธีการสังเกตว่าขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่เป็นแบบไหน ให้ดูข้อความตรงมิเตอร์ที่เขียนว่า “Phase” หรือ “Type” ซึ่งบ้านที่สร้างมานานแล้วมักจะเป็นบ้านที่ใช้ไฟแบบ Single-Phase 5(15)A หรือ Single-Phase 15(45)A แต่ตามมาตรฐานการติดตั้งเครี่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน การไฟฟ้าจะแนะนำให้ใช้มิเตอร์ไฟฟ้าที่มีขนาด Single-Phase 30(100)A หรือ 3-Phase 15(45)A

เพราะฉะนั้น หากลองตรวจเช็กดูแล้วว่ามิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านไม่รองรับหรือมีกำลังไฟไม่เพียงพอ ก็ต้องทำการแจ้งขอเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ที่การไฟฟ้าก่อน หรือบางกรณีอาจจะขอติดตั้งมิเตอร์ TOU ไปด้วยเลยก็ได้ สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนมิเตอร์นั้น ประกอบไปด้วย

  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
  • บิลค่าไฟฟ้า (3 – 4 เดือนย้อนหลัง)
  • ข้อมูลหรือสเปกรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ (สำหรับประเมินกำลังไฟที่เพียงพอ)
  • ใบมอบอำนาจ หรือสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ (กรณีดำเนินการแทนเจ้าบ้าน)

4. ตรวจเช็กขนาดสายไฟเมน

นอกเหนือจากการเช็กมิเตอร์ไฟฟ้าว่าพร้อมต่อการติดตั้ง EV Charger หรือไม่แล้ว ก็ต้องเช็กขนาดสายไฟเมนหรือขนาดสายไฟที่เชื่อมมายังตู้ควบคุมด้วย ซึ่งขนาดที่ควรใช้คือขนาด 25 ตร.มม. และสำหรับตู้ Main Circuit Breaker หรือตู้เมนเบรกเกอร์ ก็ควรใช้ตู้ที่รองรับกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดไม่เกิน 100 A เช่นกัน

5. ตรวจเช็กเครื่องตัดไฟรั่ว

แน่นอนว่าการใช้ไฟฟ้านั้นยังมีข้อควรระวังหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือการเกิดเหตุการณ์ณืที่ไม่คาดฝัน อาทิ ฟ้าผ่า ที่อาจส่งผลให้เกิดไฟดูดได้ ดังนั้น อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึง Home Charger ก็คือ การติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ารั่ว (RCD) ซึ่งมาตรฐานทั่วไปคือต้องมีพิกัดกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 30 mA และสามารถตัดไฟได้ภายในเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่ว 5 เท่าของพิกัด

ส่วนการเลือกติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า หากรุ่นที่เลือกติดตั้งมีระบบตัดไฟอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง RCD เพิ่มก็ได้เช่นกัน ส่วนเต้ารับควรใช้แบบ 3 รู และมีหลักดินแยก ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ทางผู้ให้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า จะเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำแนะนำก่อนติดตั้งเสมอ

6. เลือกจุดสำหรับติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน

การเลือกพื้นที่สำหรับติดตั้ง Home Charger ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ๆ ก็ตาม จุดที่ติดตั้งเครื่องชาร์จไปจนถึงจุดเสียบหัวชาร์จเข้ากับตัวรถ ควรมีระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร เพราะปกติแล้วสายชาร์จจะมีความยาวสายอยู่ที่ 5 – 7 เมตรเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับรุ่น) และการเดินสายไฟก็ไม่ควรไกลจากตู้ควบคุมไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

ที่สำคัญคือ ไม่ว่าเครื่องชาร์จจะมีมาตรฐานกันน้ำและฝุ่นละอองที่ IP เท่าไหร่ก็ตาม ก็ควรติดตั้งเครื่องชาร์จในพื้นที่ร่มและอยู่ใต้หลังคา เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและความปลอดภัยของผู้ใช้รถ แต่หากต้องการติดตั้ง EV Charger ที่คอนโด จะต้องทำการติดต่อที่นิติบุคคลก่อน ว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ติดตั้ง Home Charger ที่มีมาตรฐาน เลือก PlugHaus

ติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน เลือก PlugHaus Thailand

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ EV ที่ต้องการติดตั้ง Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน แล้วยังไม่รู้ว่าจะเลือกติดตั้งกับผู้ให้บริการที่ไหนดี สามารถเลือกติดตั้งกับทาง PlugHaus Thailand ได้แล้ววันนี้ ด้วยทีมงานที่มากประสบการณ์ และวิศวกรที่ผ่านการรับรอง ด้วยมาตรฐานการติดตั้งจาก PEA และ MEA ที่พร้อมจะให้ข้อมูลด้านการชาร์จที่ครอบคลุม พร้อมกับตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่ติดตั้งให้อย่างละเอียด เพื่อสร้างประสบการณ์และการใช้งาน เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้รถทุกคน ไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส ก็สามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัยและใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

เซฟค่าไฟฉบับกูรู​ ด้วย “มิเตอร์ไฟฟ้า TOU”​ ที่คนใช้รถ EV ต้องรู้จัก

ในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา เชื่อว่าหลาย ๆ บ้าน คนเผชิญกับปัญหาค่าไฟแพงขึ้นเป็นเท่าตัว ยิ่งถ้าใครเป็นคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยแล้ว ก็คงจะอยากเซฟค่าไฟให้มากขึ้น ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ “มิเตอร์ TOU” ซึ่งเป็นมิเตอร์ไฟฟ้าทางเลือกที่หลาย ๆ คนสนใจ เพราะฉะนั้น ทาง PlugHaus Thailand จะพาคุณมาทำความรู้จักกับมิเตอร์ไฟฟ้า TOU ให้มากขึ้น ว่าคืออะไร แล้วคุ้มไหมถ้าจะติดตั้งมิเตอร์ชนิดนี้แทนมิเตอร์ปกติที่ใช้อยู่

การใช้มิเตอร์ TOU สำหรับคนใช้รถยนต์ไฟฟ้า

มิเตอร์ TOU คืออะไร?

มิเตอร์ TOU (Time Of Use Tariff หรือ Time Of Use Rate) คือ มิเตอร์ไฟฟ้าในรูปแบบดิจิทัล ที่จะใช้วิธีการคิดค่าไฟตามช่วงเวลาในการใช้งาน ต่างจากมิเตอร์ไฟฟ้าแบบปกติที่จะคิดค่าไฟตามหน่วยการใช้งาน โดยการคิดอัตราค่าไฟฟ้าของการใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ On-Peak และ Off-Peak ซึ่งทั้งสองเวลาจะมีการคิดค่าบริการที่ต่างกันตามการกำหนดอัตราค่าไฟของ MEA และ PEA

การคิดอัตราค่าไฟฟ้า ของมิเตอร์ TOU

สำหรับอัตราค่าไฟฟ้าของมิเตอร์ TOU นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงราคา คือ ช่วงเวลา On-Peak และ Off-Peak ซึ่งเวลาในการคิดค่าไฟ จะมีราคาต่อหน่วยที่ต่างกัน ดังนี้

อัตราค่าไฟฟ้ามิเตอร์ TOU ปี 2567
  • ช่วงเวลา On-Peak หรือ Peak จะมีค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 5.1135 (แรงดัน 22 – 33 kV) และราคา 5.7982 บาท/kWh (แรงดันต่ำกว่า 22 kV)
  • เวลา Off-Peak มีราคาค่าไฟอยู่ที่ 2.6037 (แรงดัน 22 – 33 kV) และราคา 2.6369 บาท/kWh (แรงดันต่ำกว่า 22 kV)

โดยราคาค่าไฟต่อหน่วย หรือต่อ kWh นั้น จะเป็นราคาที่ยังไม่รวมกับค่า FT และค่าบริการรายเดือน ทั้งนี้ จากกระแสข่าวการปรับขึ้นอัตราค่าไฟฟ้า เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ก็อาจจะส่งผลให้ค่าไฟต่อหน่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่า FT ได้เช่นกัน (ตั้งแต่งวดวันที่ ก.ย. – ธ.ค.) ซึ่งปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับการใช้มิเตอร์ TOU สำหรับบ้านและกิจการขนาดเล็กจะมีราคาที่เท่ากัน แต่หากเป็นกิจการขนาดกลางไปจนถึงกิจการขนาดใหญ่จะมีราคาค่าไฟฟ้าที่ถูกลงมา

การประหยัดค่าไฟสำหรับคนใช้รถ EV ด้วยมิเตอร์ TOU

มิเตอร์ไฟฟ้า TOU เหมาะกับใครบ้าง เปลี่ยนแล้วคุ้มไหม?

จะเห็นได้เลยว่า จากการคิดอัตราค่าไฟฟ้าของการใช้มิเตอร์ TOU ที่จะยึดตามเวลา On-Peak และ Off-Peak นั้น ส่งผลให้ค่าไฟเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่การจะเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ไฟฟ้าชนิดนี้ จะเหมาะกับคนบางกลุ่มเท่านั้น นั่นก็คือ กลุ่มคนที่ต้องเดินทางออกไปทำงานในเวลากลางวัน แล้วกลับมาใช้ชีวิตในบ้านตอนกลางคืนเป็นหลัก เช่น หากใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ก็สามารถชาร์จไฟในเวลากลางคืน เพื่อนำรถไปใช้ในเวลากลางวัน เป็นต้น

แต่หากใครที่ทำงานอยู่ที่บ้าน เช่น Work From Home ทำธุรกิจที่บ้าน หรือมีสมาชิกในบ้านอาศัยอยู่ในเวลากลางวันหลายคนก็อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่นัก เพราะสุดท้ายแล้วในช่วงเวลากลางวันก็ยังคงมีอัตราการใช้ไฟฟ้าไม่ต่างจากเวลากลางคืนอยู่ดี เพราะฉะนั้น ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU ก็ควรสำรวจก่อนว่าพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร ส่วนมากแล้วจะใช้ไฟในเวลาไหนมากที่สุด เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและสามารถประหยัดค่าไฟได้จริง

เปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า เป็นมิเตอร์ TOU ต้องทำยังไง?

การติดตั้งมิเตอร์ TOU ที่บ้านนั้น สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ ยื่นเรื่องผ่านทางออนไลน์ได้ด้วยตัวเอง หากอยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวงสามารถยื่นเรื่องได้ที่เว็บไซต์ https://eservice.mea.or.th/ หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 1130 แต่หากอยู่ในเขตความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะต้องยื่นเรื่องผ่านทางเว็บไซต์ https://eservice.pea.or.th/ หรือติดต่อคอลเซ็นเตอร์ที่เบอร์โทรศัพท์ 1129 และอีกช่องทางหนึ่งก็คือ ดำเนินการขอใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU ที่การไฟฟ้าใกล้บ้าน

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาเอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า TOU
  • หากไม่ใช่เจ้าบ้านต้องมีเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาซื้อขาย หรือใบมอบอำนาจ
  • บิลค่าไฟฟ้า
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ PEA หรือ MEA)

ราคาและค่าติดตั้ง สำหรับมิเตอร์ไฟฟ้า TOU

สำหรับค่าบริการการติดตั้งเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU จะมีราคาค่าเปลี่ยนมิเตอร์อยู่ที่ 700 บาท และค่ามิเตอร์ 6,000 บาท โดยอัตราค่าธรรมเนียมในการขอใช้ไฟฟ้าและค่าบริการต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบ้านที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส ที่อาจจะมีราคาที่ต่างกันอยู่บ้าง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ไฟฟ้า TOU สามารถสอบถามอัตราค่าบริการได้ที่การไฟฟ้าในพื้นที่ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าควรจะหันมาใช้มิเตอร์ TOU ดีหรือไม่

ติดตั้ง Home EV Charger เลือก PlugHaus Thailand

ติดตั้ง Home EV Charger ที่มีมาตรฐาน เลือก PlugHaus

นอกเหนือจากการเปลี่ยนมาใช้มิเตอร์ TOU ที่จะช่วยให้ผู้ใช้รถ EV ประหยัดไฟได้มากขึ้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การเลือกใช้ Home Charger ที่มีมาตรฐาน และเป็นมิตรกับรถยนต์ไฟฟ้า โดยทาง PlugHaus Thailand นั้น ก็เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ที่มีมาตรฐานและผ่านการรับรองทั้งจาก PEA และ MEA โดยทีมงานที่มากประสบการณ์ โดยเฉพาะวิศวกรไฟฟ้าที่ได้ใบรับรอง ที่สามารถให้ข้อมูลพร้อมตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้าได้อย่างตรงจุด ที่สำคัญคือ เรามีเครื่องชาร์จให้เลือกหลายรุ่นในงบที่คุณเลือกได้ และเป็นมิตรต่อสุขภาพแบตเตอรี่ในระยะยาว

รีวิว 10 อันดับ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่บ้านที่น่าใช้ ฉบับปี 2024

ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV หลาย ๆ คน ต่างก็รู้ดีว่าการเลือก เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) นั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการใช้งานรถแต่ละวัน เพราะการใช้เครื่องชาร์จรถ EV แต่ละแบบ ก็จะมีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป โดยเฉพาะกำลังไฟที่ต้องมีความเหมาะสมต่อรถที่ใช้ ซึ่งทาง Plug Haus Thailand ก็ไม่พลาด ที่จะมารีวิวพร้อมแนะนำ 10 อันดับ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ให้กับผู้ใช้งานกัน ว่ามีรุ่นไหนน่าใช้บ้าง แล้วแต่ละรุ่นมีราคาเท่าไหร่ อัปเดตล่าสุดปี 2024!

10 เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ที่น่าใช้ อัปเดตล่าสุด!

สำหรับ 10 เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ที่ได้รับความนิยมในการติดตั้งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ การชาร์จแบบธรรมดาที่ต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง ซึ่งการชาร์จในรูปแบบนี้รองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำคือ 15(45)A ใช้เวลาชาร์จค่อนข้างนาน เฉลี่ย 12 – 15 ชั่วโมง และอีกแบบคือ Double Speed Charge หรือเครื่องชาร์จแบบ Wall Box ซึ่งเป็นการชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) รองรับไฟฟ้าขั้นต่ำที่ 30(100)A ใช้เวลาชาร์จประมาณ 4 – 7 ชั่วโมง มีหัวชาร์จ Type 1 และ 2

Home EV Charger Wallbox Pulsar Max

1. เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Max

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox รุ่น Pulsar Max นับว่าเป็นรุ่นที่มีขนาดกะทัดรัดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่เลือกติดตั้งเครื่องชาร์จกับทาง PlugHaus เพราะนอกจากจะเป็นรุ่นที่มีการดีไซน์ที่เรียบง่าย ดูมินิมอล เข้ากับบ้านสมัยใหม่แล้ว ยังเป็นเครื่องชาร์จที่ใช้ได้กับรถยนต์ EV ทุกรุ่น ที่รองรับหัวชาร์จ Type 2 มีมาตรฐานการป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง IP55

  • มีขนาด 7.4 – 22 kW
  • รองรับทั้งการใช้ไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส
  • สายชาร์จยาว 5 และ 7 เมตร
  • มีระบบการควบคุมแรงดันไฟฟ้า
  • ตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็มแล้ว
  • ใช้งานได้ทั้งแบบ Indoor และ Outdoor
  • กันกระแทกได้ระดับ IK10
  • ควบคุมการใช้งานได้ผ่านทาง Application Wallbox

2. ABB Terra AC Wallbox

อีกหนึ่งเครื่องชาร์จรถยนต์ EV นั้น เป็นการชาร์จด้วย AC Charging หรือไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเหมาะกับการติดตั้งเพื่อใช้ภายในครัวเรือนเป็นหลัก จุดเด่นของรุ่นนี้ก็คือ การควบคุมการใช้งานผ่านทางแอป ChargerSync App ทำให้กำหนดหรือตั้งเวลาการชาร์จได้ตามที่ต้องการ รวมถึงการปรับเพิ่มและลดกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้ ที่สำคัญคือ สามารถเช็กค่าไฟได้ง่าย ๆ ผ่านทางแอปฯ โดยตรง

  • มี 2 ขนาด คือ 7.4 kW และ 22 kW
  • ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส
  • รองรับหัวชาร์จ Type 1 และ Type 2
  • กันน้ำในระดับ IP54
  • มีการ์ด ABB สำหรับแตะชาร์จที่ตู้ได้
  • ความยาวสายชาร์จ 5 เมตร
  • ชาร์จไฟเต็ม 100% ได้ภายในเวลา 2 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับรุ่นรถ)
  • รองรับเชื่อมต่อ Bluetooth, Wi-Fi และ 4G
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Wallbox Pulsar Plus

3. Wallbox รุ่น Pulsar Plus

โดยเครื่องชาร์จจากทาง Wallbox รุ่น Pulsar Plus เป็นรุ่นที่มีกำลังไฟอยู่ที่ 7.4 kW รองรับการใช้งานผ่านทาง Application เหมือนกันกับรุ่น Pulsar Max ต่างกันที่มีกำลังไฟให้เลือกเพียงขนาดเดียว และมีมาตรฐานการป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง IP54 โดยที่หัวชาร์จก็ยังคงรองรับได้ทั้ง Type 1 และ Type 2

  • กระแสไฟตั้งแต่ 6 A ถึง Rated Current
  • สายชาร์จยาว 5 เมตร
  • น้ำหนักของเครื่องชาร์จคือ 1.9 กิโลกรัม (ไม่รวมสาย)
  • รองรับการเชื่อมต่อทั้ง Wi-Fi และ Bluetooth
  • มี RGB LED เพื่อบอกสถานะในการใช้งาน
  • ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส

4. Autel รุ่น MaxiCharger AC Wallbox

เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า แบรนด์ Autel รุ่น MaxiCharger AC Wallbox นับว่าเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ผู้ใช้งานหลาย ๆ คนเลือกใช้ และมีการวางจำหน่ายกว่า 70 ประเทศทั่วโลก มีมาตรฐาน CE พร้อมกับรางวัลการันตีคุณภาพกว่า 100 รางวัล หนึ่งในนั้นคือ REDDOT และ iF Design Award 2022 เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องชาร์จรถยนต์ EV ที่ถูกพูดถึงอีกหนึ่งรุ่นในตอนนี้ โดยเฉพาะการนำ AI ให้เข้ามาใช้ดูแลเรื่องอายุแบตเตอรี่ของรถยนต์

  • มีระบบ AUTEL Charge Cloud สามารถตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
  • รองรับการเชื่อมต่อที่หลากหลาย ทั้ง Wi-Fi, Bluetooth, Internet และ 4G
  • มีแอปพลิเคชันชาร์จรถไฟฟ้า AUTEL Charge ที่รองรับทั้ง iOS และ Android
  • สามารถใช้งานได้ทั้งการใช้ RFID Card และ QR Code เพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้น
  • ควบคุมการชาร์จได้แบบ Real Time เช่น การตั้งเวลาการชาร์จล่วงหน้า
  • สามารถเก็บสถิติการชาร์จและการคำนวณค่าไฟได้
  • มีการแจ้งเตือนเมื่อการชาร์จเสร็จสิ้น
  • มาตรฐานกันน้ำและฝุ่น IP66
  • สายชาร์จมีความยาว 5 เมตร และใช้หัวชาร์จ Type 2
  • จ่ายไฟได้สูงสุด 32A ด้วยกำลังไฟ 22 kW
  • มีระบบการชาร์จที่ปลอดภัยด้วย Triple Protection Technology

5. Delta AC Max

สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน Delta รุ่น AC Max เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่มาแรงและถูกใจคนใช้รถ EV หลาย ๆ คน โดยเฉพาะขนาดของเครื่องที่มีความกะทัดรัด แต่สามารถให้กำลังไฟที่สูงถึง 22 kW รองรับหัวชาร์จประเภทต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งจุดเด่นของรุ่นนี้ก็คือ เป็นรุ่นที่เหมาะสำหรับการติดตั้งภายนอกอาคาร รวมถึงบ้านที่มีพื้นที่จำกัดมาก ๆ เพราะมีมาตรฐานกันน้ำฝุ่น IP55 / IK08 ที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อผู้ใช้งานได้ดี

  • มีขนาดกำลังไฟสูงสุด 22 kW ที่กระแสไฟฟ้า 32A
  • สามารถใช้งานได้ทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส
  • ได้รับมาตรฐาน ISO 15118
  • มีมาตรฐาน Open Charge Point Protocol (OCPP)
  • มี 2 รุ่นย่อยให้เลือก คือ Basic และ Smart
  • สายไฟยาว 5 เมตร
  • ใช้หัวชาร์จแบบ Type 2
  • รองรับการเชื่อมต่อทั้ง Ethernet, Bluetooth, WLAN หรือ Cellular
เครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Wallbox Pulsar Pro

6. Wallbox รุ่น Pulsar Pro

อีกหนึ่งรุ่นยอดฮิตของ Home Charger ของค่าย Wallbox ก็คือรุ่น Pulsar Pro ที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่มินิมอล ไซซ์กะทัดรัด มีให้เลือก 2 ขนาด คือ 7.4 kW และ 22 kW สามารถใช้ไฟได้ทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส รองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าทุกยี่ห้อที่รองรับหัวชาร์จ Type 2 ส่วนตัวเครื่องจะมีระบบการควบคุมแรงดันไฟฟ้าในตัว พร้อมตัดไฟให้อัตโนมัติเมื่อชาร์จเสร็จ หรือว่ามีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลในกรณีที่ชาร์จไฟทิ้งไว้

  • หัวชาร์จ 1 Plug / Type 2
  • สายชาร์จยาว 5 เมตร และ 7 เมตร
  • มีระบบ RFID/NFC สำหรับการใช้งานผ่านบัตร
  • ควบคุมการใช้งานได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน myWallbox
  • รองรับ 4G Sim Included
  • ป้องกันฝน แดด และฝุ่นละออง ระดับ IP55
  • กันกระแทกได้ในระดับ IK10
  • มาพร้อมกับอุปกรณ์กันไฟดูด RCD Type A / Plastic CB Box

7. Delta MINI Plus

สำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Charger ที่บ้าน Delta รุ่น AC Mini Plus เป็นรุ่นที่ตอบโจทย์รถยนต์ EV ไซซ์มินิ ด้วยกำลังไฟฟ้า 7.4 kW รองรับหัวชาร์จทั้งแบบ Type 1 และ Type 2 ซึ่งเป็นเครื่องชาร์จที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะต่อการใช้งานในทุก ๆ สภาพแวดล้อม ทั้งในที่ร่มและที่กลางแจ้ง จึงทำให้เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ได้รับความนิยมในการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน รวมถึงการทำ Home Office

  • มีระบบกันไฟรั่ว IP55 และ IK08
  • ใช้ได้กับรถยนต์ปลั๊กอิน และรุ่น IEC T2
  • สามารถปรับกระแสไฟฟ้าได้ตามพื้นที่ที่ติดตั้งเครื่องชาร์จรถ EV
  • รองรับการเชื่อมต่อ 2 แบบ คือ Wi-Fi และ 3G.
  • มีเทคโนโลยี RFID สำหรับการสื่อสารแบบไร้สาย

8. EVLINK WallBox SCHNEIDER

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน EVLINK WallBox SCHNEIDER รุ่นยอดฮิตส่งตรงจากฝรั่งเศส โดยเป็นรุ่นที่เหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส เพราะเป็นขนาดที่พอเหมาะกับการชาร์จไฟรถยนต์ EV ทั่ว ๆ ไป ซึ่งตัวเครื่องมีกำลังไฟฟ้า 7.4 kW ใช้หัวชาร์จ Type 2 จุดเด่นของรุ่นนี้จะเน้นไปที่การใช้งานแบบง่าย ๆ ระบบไม่ซับซ้อน ตอบโจทย์บ้านที่กำลังหาเครื่องชาร์จดีดีในราคาย่อมเยา และเพียงพอต่อการชาร์จในเวลา Off-Peak

  • เหมาะสำหรับรถ BEV และ PHEV ทุกรุ่น
  • มีระบบล็อกด้วยกุญแจ ช่วยป้องกันการถูกโจรกรรมได้
  • สามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอก ด้วยมาตรฐาน IP54
  • น้ำหนักตัวเครื่อง 5 กิโลกรัม
  • ความยาวสาย 5 เมตร
  • ตัวเครื่องรับประกัน 2 ปี โดย Schneider Thailand

9. Siemens VersiCharge Gen 3

หากใครที่กำลังมองหาเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานจากแบรนด์ชั้นนำ Seimens ก็นับว่ารุ่น VersiCharge Gen 3 มีความน่าสนใจ เพราะรองรับการติดตั้งทั้งแบบ Wall และ Pole ขึ้นอยู่กับความชอบหรือความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถรองรับการชาร์จไฟกับรถ EV ทุกรุ่นทุกแบรนด์ เพราะใช้หัวชาร์จ Type 2 ส่วนวัสดุของตัวเครื่องใช้ Polycarbonate ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ลามไฟ

  • มี 2 ขนาด คือ 7.4 kW และขนาด 22 kW
  • สายชาร์จยาว 7 เมตร
  • มาพร้อมกับฟังก์ชัน RFID Authentication ช่วยระบุผู้ใช้งานได้
  • รองรับการใช้งานผ่านทางแอปพลิเคชัน VersiCharge
  • ควบคุมการทำงานได้ เช่น การตั้งเวลา หรือการติดตามสถานะต่าง ๆ
  • มีมาตรฐานการกันน้ำและฝุ่นที่ระดับ IP56
  • น้ำหนักเครื่องอยู่ที่ 6.96 กิโลกรัม

10. BESEN EV Charger

ปิดท้ายกันดัวยเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าติดผนังอย่าง BESEN EV Charger ที่มีกำลังไฟให้เลือก 2 ขนาด คือ 7.4 kW และ 22 kW ใช้งานได้ทั้งไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส ซึ่งตัวเครื่องจะมีจุดเด่นหลัก ๆ คือ หน้าจอการแสดงผลการทำงานหรือการชาร์จไฟแบบ LCD Display นอกจากนี้ ยังมีระบบป้องกันไฟรั่วภายในเครื่องด้วย เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานทั้งภายนอกและภายในอาคาร

  • มีมาตรฐานการกันฝน แดด และฝุ่นละออง IP66
  • มี DRD สำหรับการล็อกด้านข้าง เพื่อป้องกันการโจรกรรม
  • ความยาวสายมี 3 ขนาด คือ 5 เมตร, 7 เมตร และ 10 เมตร
  • มีน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
  • สถานะดูง่าย เช่น พลังงาน ค่าใช้จ่าย และปัญหาหรือความผิดพลาด
  • มีระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าภายในตัว
  • เมื่อชาร์จเต็มแล้วจะตัดไฟให้อัตโนมัติ รวมถึงเมื่อมีเหตุขัดข้องเกิดขึ้น
ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เลือก PlugHaus

ติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้า Home Charger เลือก PlugHaus

อย่างไรก็ตาม หากผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ท่านใด ที่ต้องการติดตั้ง เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ที่บ้าน หรือ Home EV Charger ที่มีมาตรฐานการติดตั้งแบบครบวงจร ทั้งจาก PEA และ MEA พร้อมการรับประกันหลังการขาย สามารถเลือกติดตั้งกับทาง PlugHaus Thailand ได้แล้ววันนี้ ซึ่งในปัจจุบันเรามีจำหน่ายทั้งหมด 3 รุ่นจากทาง Wallbox ไม่ว่าจะเป็น Pulsar Max, Pulsar Plus และ Pulsar Pro ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น ผู้ใช้รถอีวีสามารถเลือก Home Charger ราคาที่ถูกใจและสเปกที่เหมาะสมกับรถได้เลย

รวมไอเดียแมตซ์บ้านกับเครื่องชาร์จ Wallbox

การติดตั้งเครื่องชาร์จ Wallbox ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเพิ่มความสะดวกสบายให้กับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มความสวยงามและสไตล์ให้กับบ้านของคุณอีกด้วย มาดูกันว่าเราจะสามารถแมตช์ กับบ้านสไตล์ต่างๆ ได้อย่างไรบ้าง

บ้านสไตล์มินิมอลกับ Wallbox PULSAR MAX

ไอเดีย Wallbox สำหรับบ้านสไตล์มินิมอล

บ้านสไตล์มินิมอลเป็นบ้านที่เน้นความเรียบง่ายและความสงบ การเลือกเครื่องชาร์จที่มีดีไซน์เรียบง่าย สีขาวหรือสีดำ จะเข้ากันได้ดีกับบ้านสไตล์นี้

  • สีและวัสดุ: เลือก เครื่องชาร์จWallbox ที่มีสีขาวหรือสีดำ เพื่อให้เข้ากับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายและสะอาดตา
  • การติดตั้ง: ติดตั้งเครื่องชาร์จในที่ที่ไม่เกะกะสายตา เช่น ผนังด้านข้างของบ้านหรือในโรงจอดรถ
บ้านสไตล์ลักซ์ชัวรี่กับ Wallbox PULSAR MAX

วิธีเลือก Wallbox ให้เข้ากับบ้านสไตล์ลักซ์ชัวรี่

บ้านสไตล์ลักซ์ชัวรี่เน้นการตกแต่งที่หรูหราและมีระดับ ด้วยเครื่องชาร์จ Wallbox ที่ตอบโจทย์ทั้งดีไซน์และฟีเจอร์ที่ล้ำสมัยจะเข้ากันได้ดี

  • สีและวัสดุ: เลือก EV Charger ที่มีวัสดุคุณภาพสูง เช่น อะลูมิเนียม หรือสแตนเลส ที่มีผิวมันเงา
  • การติดตั้ง: ติดตั้งเครื่องชาร์จในที่ที่สามารถเป็นจุดเด่นได้ เช่น บริเวณทางเข้าหรือโรงจอดรถที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา
บ้านสไตล์ลอฟท์กับ Wallbox PULSAR MAX

ไอเดียเครื่องชาร์จกับบ้านสไตล์ลอฟท์

บ้านสไตล์ลอฟท์มีความดิบและเท่ห์ ที่มีดีไซน์ทันสมัยและดุดันจะเสริมให้บ้านสไตล์นี้ดูโดดเด่นขึ้น

  • สีและวัสดุ: เลือก ที่มีสีเทาเข้ม หรือดำ พร้อมด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน เช่น เหล็ก หรือโลหะ
  • การติดตั้ง: ติดตั้งเครื่องชาร์จในที่ที่มีความดิบและเปิดเผย เช่น บริเวณกำแพงอิฐหรือกำแพงปูนเปลือย

วิธีเลือก Home Charger ให้เข้ากับบ้านสไตล์มูจิ

บ้านสไตล์มูจิเน้นความเรียบง่ายแบบธรรมชาติ การเลือก EV Charger ที่มีดีไซน์เรียบง่ายและเข้ากับวัสดุธรรมชาติจะเหมาะสม

  • สีและวัสดุ: เลือก EV Charger ที่มีสีอ่อน เช่น ขาว ครีม หรือสีไม้ ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติหรือเลียนแบบธรรมชาติ
  • การติดตั้ง: ติดตั้งเครื่องชาร์จในที่ที่เข้ากับธรรมชาติ เช่น บริเวณระเบียงหรือกำแพงที่มีการตกแต่งด้วยต้นไม้
ซื้อเครื่องชาร์จ หร้อมติดตั้งกับ PlugHaus

เราให้บริการขาย Home Charger พร้อมติดตั้ง

ใครที่มีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่ยังไม่มี Home Charger หรือต้องการเปลี่ยนเครื่องชาร์จใหม่ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง สามารถติดต่อเราเพื่อขอคำปรึกษาได้ ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย !

ช่องทางการติดต่อ

  • Facebook Page: PlugHaus Thailand
  • Line: @plughaus_th
  • เบอร์โทร: 065-5248-399

การเลือก Home Charger ที่เหมาะสมกับสไตล์บ้านของคุณจะช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ลงตัวและเพิ่มความสะดวกสบายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อย่าลืมเลือก ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและติดตั้งอย่างถูกต้องเพื่อประสบการณ์ที่ดีที่สุด

จุดที่ต้องเช็ก ก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน

ใครที่กำลังวางแผนจะติดตั้งเครื่องชาร์จ จะต้องเช็กจุดที่สำคัญเหล่านี้ก่อนเริ่ม Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Vivamus vitae massa mattis, cursus lorem nec, commodo nulla. Nam vitae dolor eget odio vestibulum viverra. Pellentesque libero diam