ข้อดีของการชาร์จไฟแบบ AC Charging ที่คนใช้รถยนต์ EV ควรรู้!

การชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าด้วยระบบไฟ AC Charging หรือ ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ นับเป็นการชาร์จไฟแบบพื้นฐานที่ผู้ใช้รถ EV ต่างก็รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น มาทำความรู้จักกับการชาร์จไฟแบบ AC กันให้มากขึ้น พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างการชาร์จไฟ AC กับ DC แบบไหนที่จะดีต่อแบตเตอรี่มากกว่า แล้วช่วยยืดอายุการใช้งานได้จริง

ข้อดีของการชาร์จไฟแบบ AC Charging สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

รู้จักการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าด้วย AC Charging

ระบบการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC Charging (Alternating Current / Normal Charge) เป็นการชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสไฟฟ้าจะไหลสลับกันไปมาตลอดเวลาที่ชาร์จ ไม่มีขั้วบวกหรือว่าขั้วลบ ซึ่งระบบจะรับไฟฟ้าเข้าสู่ Wallbox ก่อนนำกระแสเข้าสู่ On Board Charger ในตัวรถ ก่อนแปลงไฟฟ้าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง แต่หากเป็นการชาร์จไฟฟ้าแบบเร็ว หรือ DC Charging จะเป็นการนำกระแสไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่เลยโดยที่ไม่ต้องผ่าน On Board Charger จึงทำให้ได้เปอร์เซ็นต์แบตที่ไวมากกว่า และแบตเตอรี่เต็มเร็วกว่าในการชาร์จไฟรถยนต์ EV

ชาร์จไฟด้วยระบบ AC Charging ดีกว่ายังไง?

  • เป็นการชาร์จไฟที่ไม่ส่งผลเสียต่อแบตเตอรี่ในระยะยาว เพราะผ่านตัวกลางก่อน
  • เป็นระบบการชาร์จไฟที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จไว้ที่บ้าน ที่อยู่อาศัย เพื่อใช้ส่วนตัว
  • สามารถชาร์จไฟข้ามคืนได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเสื่อม
  • การชาร์จไฟด้วยระบบ AC มีค่าไฟที่ถูกที่สุด
  • ใช้งานได้ง่าย เพียงแค่เสียบปลั๊กก็สามารถชาร์จไฟได้ทันที
  • รองรับการชาร์จไฟได้สูงสุดถึง 22 kW ซึ่งเพียงพอต่อรถยนต์ไฟฟ้าที่มีวางจำหน่ายในปัจจุบัน
  • การชาร์จ AC นอกบ้านตามสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า มีราคาที่ถูกกว่าการชาร์จแบบ DC
  • หัวชาร์จรองรับกับรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น โดยเฉพาะหัวชาร์จ AC Type 2 ที่นิยมในปัจจุบัน

หมายเหตุ: อัตราค่าบริการค่าชาร์จไฟแบบ AC และ DC จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และแต่ละสถานีก็จะมีค่าชาร์จไฟต่อหน่วยที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้น ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าต้องเช็กค่าบริการก่อนทุกครั้ง

ข้อจำกัดของการชาร์จไฟแบบ AC Charging

  • ใช้ระยะเวลาการชาร์จที่นานมากกว่าการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง หรือ DC Charging
  • อาจไม่สะดวกในการใช้งานสำหรับบางสถานการณ์ เช่น การเดินทางไกล หรือเวลาเร่งรีบ
  • ปัจจุบันเครื่องชาร์จไฟด้วยระบบ AC Charging ยังรองรับการชาร์จเพียงแค่ 3 – 22 kW เท่านั้น
การชาร์จไฟรถยนต์แบบ AC ด้วยการติดตั้ง Home Charger

ชาร์จไฟรถยนต์แบบ AC ด้วยการติดตั้ง Home Charger

จะเห็นได้เลยว่า การชาร์จไฟแบบ AC หรือการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นรูปแบบการชาร์จที่เหมาะสำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน เพราะสามารถชาร์จไฟเวลาไหนก็ได้ มีราคาค่าไฟต่อหน่วยถูกกว่า และที่สำคัญคือ สามารถเสียบหัวชาร์จกับตัวรถค้างคืนได้ ไม่ต้องรอถอดหัวชาร์จออกจากตัวรถเมื่อแบตเตอรี่เต็ม และหากติดตั้ง Home Charger ที่สามารถตั้งค่าการชาร์จไฟได้ผ่านทาง Application ก็สามารถควบคุมการชาร์จได้โดยไม่ต้องเดินมาที่ตัวรถ เช่น เมื่อแบตเตอรี่เต็มก็สามารถหยุดการชาร์จได้ผ่านแอปฯ

นอกจากนี้ การชาร์จไฟแบบ AC ยังมีข้อดีคือ การประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าไฟ โดยเฉพาะผู้ที่ติดตั้ง Home Charger ที่ใช้ควบคู่กับมิเตอร์ TOU ที่เมื่อชาร์จไฟในเวลา Off – Peak ก็จะช่วยลดคอร์สค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกหลายเท่า ชนิดที่ว่าต่อให้ใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเท่าเดิม มีเพิ่มเติมมาแค่การชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าทุกวัน แต่หากชาร์จไฟในเวลาที่มีความต้องการในการใช้ไฟฟ้าต่ำ ตามรูปแบบของมิเตอร์ TOU ด้วยแล้ว ก็จะพบว่าค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนถูกลงจนเห็นได้ชัด

ติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน ด้วยเครื่องชาร์จรถจาก Plughaus

ติดตั้ง Home Charger ที่บ้าน ด้วยเครื่องชาร์จรถจาก Plughaus

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็น Home Charger รุ่นดังอย่าง Teison Smart Mini, EN+ Caro Pro และ Caro Series ทั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 1 และ/หรือการติดตั้งแบบวงจรที่ 2 กับทางทีมงานที่มีประสบการณ์ด้านการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ตามมาตรฐาน กฟผ. และ กฟน. เพียงแค่ติดต่อมาที่ Plughaus Thailand วันนี้ รับทันทีสิทธิพิเศษมากมาย ทั้งโปรโมชันสุดคุ้ม และประกันหลังการติดตั้ง ที่จะช่วยให้ผู้ใช้เครื่องชาร์จรถ EV สามารถมั่นใจได้มากขึ้น ว่าจะได้รับการติดตั้งที่มีมาตรฐาน ทั้งยังมีการการันตีทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง

มัดรวม 5 แอปฯ ค้นหาจุดชาร์จรถไฟฟ้า ที่คนใช้รถ EV ควรโหลด!

บอกต่อแอปพลิเคชันสำหรับคนใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ควรโหลด กับ 5 แอปฯ ค้นหาจุดชาร์จรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน! ที่ใช้งานง่าย ตามหา EV Station ได้ทั่วประเทศ พร้อมเช็กสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Real Time สถานีชาร์จไหนว่างบ้าง อัปเดตกันได้ไวทันใจ! พร้อมรีวิวการใช้งานแบบง่าย ๆ สำหรับแอปฯ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ที่มีติดมือถือไว้แล้วทำให้การใช้รถอีวีสะดวกมากยิ่งขึ้น เดือนทางไปไหนก็ตามหาจุดชาร์จที่ใกล้ที่สุดได้ทันที

แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Evolt App EV Station และ MEA

5 แอปฯ ค้นหาจุดชาร์จไฟรถ EV ที่ใช้แล้วดีจริง!

Evolt EV Station App

สำหรับแอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station ของทาง Evolt ถือว่าเป็นหนึ่งในแอปที่มีความครอบคลุมมากที่สุด ในการให้บริการด้านการชาร์จไฟที่สถานีชาร์จ ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงจังหวัดต่าง ๆ ทั้งประเทศไทย โดยในปัจจุบันทางอีโวลท์ได้มีการอัปเกรดแอปเช็กสถานีชาร์จรถไฟฟ้าเวอร์ชันใหม่ ที่มีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ครอบคลุมการใช้งานมากขึ้น ทั้งยังเช็กสถานะในการชาร์จไฟได้แบบ Real Time

จุดเด่นของแอปฯ Evolt

  • ค้นหาสถานีชาร์จได้ทั่วประเทศไทย รวมถึงในต่างประเทศอย่าง European Zone
  • มีข้อมูลสถานีชาร์จไฟที่ครบครัน รวมถึงรูปแบบการชาร์จไฟอย่าง AC และ DC Charger
  • สามารถเลือกจำนวนเงินที่ต้องการเติมเข้าแอปฯ ได้ เริ่มต้นเพียง 200 บาท เท่านั้น
  • ในหน้าแอปฯ EV Station จะบอกสถานะของหัวชาร์จว่าว่างจำนวนเท่าไหร่บ้าง
  • ติดตามการชาร์จไฟได้โดยตรงผ่านทางแอปฯ ไม่ต้องเฝ้ารถ ก็สามารถดูสถานะได้ตลอด

2. MEA EV

แอปชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้า MEA EV เป็นแอปที่อยู่ภายใต้การให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง โดยจุดเด่นคือ มีความครอบคลุมด้านการให้บริการสถานีชาร์จที่ครอบคลุมในประเทศไทย โดดเด่นมากที่สุดคือในพื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยเฉพาะตามสถานที่สาธารณะประโยชน์ องค์กรภาครัฐ และปั๊มน้ำมัน ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 86 สถานีชาร์จ และมีทั้งในรูปแบบ AC และ DC เช่นกัน

จุดเด่นของแอปฯ MEA EV

  • ให้บริการในพื้นที่ทำการของการไฟฟ้านครหลวงอย่างครอบคลุมตามเขตต่าง ๆ
  • อัตราค่าบริการเพียงแค่ 7.5 บาท/หน่วย
  • ส่วนมากจะให้บริการในพื้นที่สาธารณประโยชน์ และอาคารจอดรถของสถานีรถไฟฟ้า
  • รองรับการชำระอัตราค่าบริการด้วยเมนู MEA Wallet เพื่อให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • ติดตามสถานะในการชาร์จไฟได้ตลอดเวลา รวมถึงการกด Start และ Stop ในแอปฯ
  • ผู้ใช้แอปฯ จะทราบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า PEA, EA Anywhere และ PluZ

3. PEA Volta

แอปพลิเคชัน PEA Volta เป็นแอปฯ ให้บริการการชาร์จไฟโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งตู้ชาร์จไฟรถ EV ในสำนักงานของ PEA เป็นหลัก รวมถึงปั๊มน้ำมันบางจากในพื้นที่ต่าง ๆ การอัดประจุมีทั้งแบบ AC และ DC โดยทุกสถานีที่ติดตั้งจะใช้มาตรฐานการติดตั้ง EV Charger ของ กฟภ. โดยตรง ส่วนอัตราค่าบริการจะใช้ระบบการเติมเงินแบบ Prepaid ที่ทำให้การทำธุรกรรมสะดวกมากขึ้น

จุดเด่นของแอปฯ PEA EV

  • โดดเด่นเรื่องการให้บริการในพื้นที่สำนักงานของ กฟผ. และปั๊มน้ำมัน
  • ส่วนมากจะให้บริการในพื้นที่ต่างจังหวัด รองรับผู้ใช้รถ EV ทั่วประเทศ
  • มีการเปิดให้บริการสถานีชาร์จใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อรองรับผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น
  • อัตราค่าบริการค่าชาร์จไฟในช่วง Off Peak เฉลี่ยเริ่มต้นที่ 5.30 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • ค้นหาสถานีชาร์จได้ผ่านทาง Application ได้ทั่วประเทศ
  • มีฟังก์ชัน Trip Planner สำหรับการวางแผนการเดินทางของผู้ใช้รถ

4. EA Anywhere

อีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ก็คือแอปฯ EA Anywhere ที่ในปัจจุบันมุ่งเน้นการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าด้วยระบบ DC Charging แบบหน้ากว้าง โดดเด่นด้วยการให้บริการในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงในโซนต่างจังหวัด อาทิ สถานีชาร์จในภาคอีสาน โดยตัวแอปสามารถใช้วงเงินจาก Wallet สำหรับการชำระค่าบริการได้ โดยจุดเด่นของแอปที่น่าจะถูกใจผู้ใช้รถ คือ การจองหัวชาร์จล่วงหน้า ที่ช่วยให้วางแผนในการเดินทางได้อย่างเป็นระบบ และไม่ต้องต่อคิวชาร์จ

จุดเด่นของแอปฯ EA Anywhere

  • มีความโดดเด่นเรื่องการจองสถานีชาร์จล่วงหน้า เหมาะสำหรับคนที่เดินทางบ่อย ๆ
  • เมื่อจองสถานีชาร์จเอาไว้แล้ว จะมีระบบนำทางพาไปยังสถานีชาร์จ
  • มีระบบการแจ้งเตือนก่อนหมดเวลา 30 นาที
  • สามารถค้นหาสถานีชาร์จได้ผ่านทางแอปฯ
  • มีการอัปเกรด Application ใหม่ สามารถใช้ User ID เดิมได้
  • รองรับการใช้คู่กับรถไฟฟ้าหลายประเภท ทั้ง BEV และ PHEV

5. EV Station PluZ

ปิดท้ายกันด้วยแอปเช็กสถานีชาร์จรถไฟฟ้าที่อยู่คู่คนใช้รถอย่าง EV Station PluZ แอปค้นหาสถานีชาร์จในเครือ ปตท. ที่ในปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย ด้วยการให้บริการที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. โดยตรง ทำให้มีจุดชาร์จไฟที่ครอบคลุมมากที่สุดในไทย ซึ่งล่าสุดทาง EV Station PluZ ก็ได้ขยายจุดชาร์จครบ 1,000 แห่ง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เรียกว่าเป็นการขยายจุดชาร์จรถ EV แบบหน้ากว้างที่รวดเร็วเพื่อรองรับกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ

จุดเด่นของแอปฯ EV Station PluZ

  • พื้นที่ให้บริการส่วนมากอยู่ในปั๊ม ปตท. (PTT) ทำให้มีความครอบคลุมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
  • รองรับการจองเพื่อใช้บริการล่วงหน้า ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้รถที่ต้องการจองก่อนชาร์จ
  • สามารถทำการยกเลิกการจองใช้บริการที่สถานีชาร์จ EV Station ได้ (อย่างน้อย 2 ชม.)
  • เมื่อมีการยกเลิกการจอง จะมีการคืนค่าจองกลับมาในรูปแบบของคูปองภายในแอปฯ
  • มีบริการหัวชาร์จ Ultra – Fast Charger รวม 6 หัวจ่าย กำลังไฟ 480 kWh
แนะนำแอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จรถ EV ทั่วประเทศไทย

สรุป

สำหรับแอปพลิเคชันชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าที่สถานีชาร์จรถอีวี ไม่ว่าจะเป็นแอปของทาง PEA และ MEA หรือแม้แต่ Evolt Application เอง ก็นับว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างกัน รวมถึงอัตราค่าบริการ EV Charging Station ของแต่ละผู้ให้บริการด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ใช้รถยนต์ EV อย่าลืมดาวน์โหลดแอปเช็กสถานีชาร์จรถไฟฟ้า มาติดไว้ในมือถือให้พร้อม เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเลือกใช้บริการที่สถานีชาร์จรถ EV ที่สะดวกและใกล้เคียงที่สุดได้ทั่วประเทศ

มาตรฐานการติดตั้ง ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 ที่คนใช้รถ EV ต้องรู้!

ในปัจจุบันนี้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในครัวเรือน นับว่าได้รับความนิยมมากขึ้น ตามการเติบโตของตลาดรถยนต์ EV ในเมืองไทย ซึ่งการใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็ต้องมาคู่กับ Home Charger หรือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน ที่ต้องมีการติดตั้งสำหรับชาร์จไฟ เพื่อเป็นพลังงานในแบตเตอรี่รถยนต์เช่นกัน ซึ่งการติดตั้งเครื่องชาร์จก็มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน หนึ่งในนั้นก็คือ “ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2” ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ ในตอนนี้

ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2

ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 คืออะไร?

ระบบไฟฟ้าวงจร 2 คือ การเดินวงจรไฟฟ้าใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิม โดยเป็นการเดินระบบไฟฟ้าจากมิเตอร์บ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ โดยจะเป็นวงจรที่แยกออกมาต่างหาก เพื่อใช้สำหรับการชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งการติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 มีข้อดีคือ ไม่ต้องรื้อระบบไฟฟ้าใหม่ และมีความปลอดภัยในการชาร์จไฟทุกครั้ง หากติดตั้งตามมาตรฐานของการไฟฟ้าที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ยังรองรับการชาร์จไฟที่รวดเร็วเช่นกัน ทำให้ควบคุมค่าไฟของครัวเรือนได้ง่ายยิ่งขึ้น

ข้อดีของการติดตั้งวงจรที่ 2 สำหรับ EV Charger

การแยกวงจรไฟฟ้า หรือ การติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 นั้น นอกจากจะช่วยแยกวงจรไฟฟ้าสำหรับชาร์จไฟรถยนต์ EV ได้แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร หรือปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าได้เช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาไฟฟ้าเกิดพิกัด หรือ Overload ซึ่งการติดตั้งวงจรที่ 2 สามารถรองรับการชาร์จไฟที่รวดเร็วได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่า ไฟในบ้านจะไม่เพียงพอต่อการใช้งานของสมาชิกในบ้าน ชาร์จไฟเวลาไหนก็ได้ประสิทธิภาพทั้งหมด และที่สำคัญคือ วงจรที่ 2 จะไม่ไปยุ่งกับระบบไฟฟ้าเดิม การติดตั้งจึงง่ายและรวดเร็ว

ขั้นตอนการติดตั้งวงจรที่ 2

การติดตั้งวงจรที่ 2 จะต้องทำระบบวงจรไฟฟ้า สำหรับการติดตั้งรถยนต์ EV จากมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ โดยในตู้ไฟจะต้องมีการติดตั้งเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Main Circuit Breaker) แบบ 2 Pole พิกัด 50A รวมถึงติดตั้ง RCD กันดูด และระบบกราวด์ความลึก 2.4 เมตร เบื้องต้นหากต้องการติดตั้งวงจรที่ 2 ต้องติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้ง EV Charger ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

โดยการขออนุญาตจะต้องไปทำเรื่องขอมิเตอร์ชาร์จรถไฟฟ้า โดยมิเตอร์ต้องมีขนาด 30(100) A ขึ้นไป หรือระดับ 50(150) A เพื่อให้เพียงพอต่อการเดินสายไฟสำหรับชาร์จไฟรถยนต์ EV และการติดตั้ง EV Charger เมื่อมีการแจ้งการไฟฟ้าแล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้ง พร้อมการเปลี่ยนมิเตอร์ตัวใหม่ขนาด 30(100) A ให้ แต่หากที่บ้านเป็นมิเตอร์ขนาด 30(100) อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อติดตั้ง Home Charger

ติดตั้ง EV Charger สำหรับวงจรที่ 2

อุปกรณ์สำหรับติดตั้ง EV Charger สำหรับวงจรที่ 2

1. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

สำหรับตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) เป็นอุปกรณ์ทำใช้สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไฟต่าง ๆ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ลูกย่อยแบบ 1 Pole และกันดูด RCD โดยต้องมีมาตรฐาน มอก. หรือ IEC โดยแนะนำว่าสามารถรองรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ โดยที่นิยมคือแบบ 4 – 7 ช่องสำหรับวงจร 2

2. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Breaker)

เป็นอุปกรณ์สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อมีวงจรไฟฟ้ามีปัญหา โดยที่นิยมจะใช้เป็นขนาด 50A ชนิด 2 Pole โดยต้องรองรับทั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส และ 3 เฟส สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถเลือกใช้แบรนด์ไหนก็ได้ตามมาตรฐาน มอก. หรือ IEC เช่น ABB, Scheider, Panasonic, Haco, NANO ฯลฯ

3. สายไฟสำหรับการเดินวงจรเมน

โดยสายไฟสำหรับการเดินวงจรเมน สำหรับการติดตั้งวงจรที่ 2 ควรมีขนาด 16 มม. ขึ้นไป ชนิด THW มีคุณสมบัติไม่ลามไฟและมี มอก. รองรับ โดยในตลาดที่นิยมกันคือยี่ห้อ Yazaki, TripleN PKS และ บางกอกเคเบิ้ล

4. หลักดิน

การเลือกใช้หลักดินสำหรับติดตั้งระบบไฟฟ้า วงจรที่ 2 ควรเป็นแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง หรือแท่งทองแดง หรือ แท่งเหล็กอาบสังกะสี ที่มีมาตรฐานตาม ว.ส.ท. โดยต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว

5. เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC)

การใช้เครื่องตัดไฟรั่วในการติดตั้ง วงจรที่ 2 โดยควรเป็นกันดูดชนิด Type B ที่สามารถตัดไฟได้ทั้งการรั่วของกระแสตรงและกระแสสลับ แต่หากเครื่องชาร์จตัดไฟกระแสตรงได้ สามารถใช้ RCD กันดูด Type A ได้

หมายเหตุ : การติดตั้งวงจรที่ 2 สามารถติดต่อการไฟฟ้าได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมทำเรื่องยื่นขอมิเตอร์ตัวที่ 2 สำหรับ EV

ติดตั้งวงจรที่ 2 พร้อม Home Charger

ติดตั้งวงจรที่ 2 พร้อมเครื่องชาร์จไฟ Home Charger

สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า EV ที่ต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน พร้อมระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 สามารถเลือกใช้บริการและติดตั้ง Home Charger ในรูปแบบของ AC Charging สำหรับรถยนต์ EV กับทาง PlugHaus Thailand ได้ทุกรุ่น ด้วยบริการแบบ One Stop Service ที่นอกจากจะมีเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจำหน่ายแล้ว ยังมีบริการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟที่บ้านจากทีมงานมืออาชีพ โดยทางเราจะมีทั้งการตรวจสอบความพร้อมของระบบไฟฟ้า พร้อมการวางระบบไฟให้อย่างครบวงจร ที่สำคัญคือ มีประกันอัคคีภัยพร้อมประกันหลังการติดตั้งให้เช่นกัน